เนื้อแดง (Red Meat) คือ เนื้อสัตว์สีแดงเข้มสดที่ขายกันอยู่ในตามท้องตลาด เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร มักจะมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลี้ยงไว้ในฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็น หมู วัว แพะ แกะ หรือการนำมาแปรรูปสำหรับถนอมอาหารเป็นไส้กรอก เบคอน แฮม แหนม กุนเชียง ลูกชิ้น แต่มีคำถามค้างคาใจกันว่า หากรับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไปในอนาคตจะป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้หรือไม่ แล้วควรงดเลยหรือเปล่า บทความนี้จะอธิบายคลายข้อสงสัยกัน
โปรตีน
วิตามินบี 3, 6, 12
ธาตุเหล็ก
สังกะสี
อาหารที่ทำมาจากสัตว์เนื้อแดงผ่านกรรมวิธีใช้ความร้อนสูงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปิ้ง ย่าง ทอด ต้ม ลวก หากรับประทานมากเกินไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทั้งสิ้น จากสารเหล่านี้ ได้แก่
ในส่วนของสัตว์เนื้อแดงที่นำมาแปรรูป จะมีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยาอื่น ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น การอักเสบของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
ไม่ควรงดเนื้อสัตว์ แต่จำกัดปริมาณให้เหมาะสม ดังนี้
เลือกรับโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงรับการรักษา จากวิธีฉายแสงหรือเคมีบำบัด จะต้องรับโปรตีนมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานลดลง เจ็บป่วยได้ ดังนั้นควรเลือกอาหารประเภทโปรตีน ดังนี้
ทั้งสัตว์เนื้อแดงหรือแปรรูปถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งเดียวกันกับบุหรี่ แอลกอฮอล์ แร่ใยหิน สารหนู โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แม้ว่าจะไม่อันตรายเท่ากันก็ตาม ทั้งนี้สาเหตุของมะเร็งมีมากมาย ในเรื่องของกรรมพันธุ์ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เครียด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หาเวลาว่างมาตรวจสุขภาพ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ