การแกล้งอาจจะฟังดูตลกขำขัน เพราะในหมู่เพื่อน ๆ ย่อมมีการแกล้ง หรือหยอกล้อกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่การแกล้งจะไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไปหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วม หรือรู้สึกสนุกกับการแกล้งเล่นนี้ ตรงกันข้ามผู้ที่ถูกแกล้งอาจจะรู้สึกถูกคุกคาม ลามไปถึงส่งผลให้สุขภาพจิตเสีย ซึ่งการกลั่นแกล้งกันในเชิงนี้เรียกว่า “การบูลลี่” นั่นเอง
การกลั่นแกล้ง (bullying) เป็นคำที่มักได้ยินมากขึ้นในสังคมไทย เพราะหลายวันมานี้เราอาจจะได้ยิน หรือได้เห็นข่าวที่มีการกลั่นแกล้งกันของเด็กชั้นประถมที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยพฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในโรงเรียน การบูลลี่จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป เพราะจากสถิติของกรมสุขภาพจิตพบว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกัน หรือบูลลี่ (Bully) ของเด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น และจากการสำรวจพบว่า เด็กกว่า 91 % เคยถูกบูลลี่ และอีก 43 % คิดจะตอบโต้เอาคืน เสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงขึ้น แม้สังคมไทยจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยคนที่ถูกกลั่นแกล้งนั้นจะเกิดการสั่งสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเข้าสังคมตามมา
การบูลลี่สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ผลกระทบของการกลั่นแกล้ง แน่นอนอยู่แล้วว่าผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งนั้นจะมีผลต่อสภาพจิตใจจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ประสิทธิภาพการเรียนลดน้อยลง สูญเสียความมั่นใจ ชีวิตไม่มีความสุข และอาจนำพาไปถึงการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้การกลั่นแกล้ง หรือการบูลลี่ไม่เพียงแต่จะกระทบกับสภาพจิตใจของผู้ที่ถูกแกล้งเท่านั้น แต่พฤติกรรมดังกล่าวยังส่งผลต่อผู้ที่กลั่นแกล้งด้วย เช่น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง และอาจร้ายแรงถึงขั้นอาจก่อเหตุอาชญากรรมขึ้นได้ในอนาคต
ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดไซเบอร์บูลลี่ (cyberbully) หรือการกลั่นแกล้งกันผ่านทางสื่อออนไลน์ ทั้งการข่มขู่ วิพากษ์วิจารณ์ การคุกคามทางเพศ โดยในโลกออนไลน์นั้นข่าวสารต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้คนที่บูลลี่ยังไม่เปิดเผยตัวตน จึงไม่สามารถหาตัวคนบูลลี่ได้ นั่นยิ่งทำให้เกิดแผลทางใจที่ฝังลึกยากเกินจะเยียวยา อย่างกรณีการเสียชีวิตของฮานะ คิมูระ นักมวยปล้ำสาวญี่ปุ่นที่ถูกบูลลี่ในโลกออนไลน์จนตัดสินใจฆ่าตัวตายในวัยเพียง 22 ปี
เมื่อการบูลลี่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในโรงเรียน เราจึงต้องหันมาใส่ใจคนในครอบครัว หรือคนรอบข้างเพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ โดยสัญญาณของผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาการบูลลี่ คือ หงุดหงิด เกิดความวิตกกังวล มีความกลัว ไม่อยากไปโรงเรียน หรือไม่อยากไปทำงาน มีร่องรอยการถูกทำร้าย เป็นต้น ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิดควรพูดคุยเพื่อหารือถึงแนวทางในการแก้ปัญหา
ส่วนการรับมือกับปัญหาสำหรับผู้ที่ถูกบูลลี่ กรมสุขภาพจิตได้แนะวิธีการไว้ 5 แนวทาง ดังนี้
การบูลลี่จะไม่เกิดขึ้นเลยหากถูกปลูกฝังจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีให้ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว แต่การแก้ไขปัญหาในระยะสั้นผู้ที่ถูกบูลลี่ควรตอบโต้ความรุนแรงนั้นด้วยความ “เฉยชา” และต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งทางกาย และทางใจให้แก่ตนเองเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้