อาหารติดคอ อุบัติเหตุจากการกลืนผิดปกติ
อาหารติดคอ อุบัติเหตุจากการกลืนผิดปกติ

อาหารติดคอ คือ อุบัติเหตุขณะรับประทานอาหาร โดยการกลืนตามปกติแล้ว จะผ่านโคนลิ้นเข้าไปในคอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร กล่องเสียงจะยกขึ้นมาชิดกับฝาปิดร่วมกับการกลั้นหายใจ เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดอยู่ในหลอดลม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่ทางเดินอากาศหายใจขณะอาหารอยู่ในช่องปากจึงเกิดการสำลัก ฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าอย่างแรง สิ่งที่เราเคี้ยวเข้าไปจึงติดอยู่บริเวณอวัยวะทางเดินอาหารหรือช่วงทรวงอก

 

 

สาเหตุที่ทำให้อาหารติดคอ

 

ประมาท

 

  • เช่น การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด, รีบรับประทานจนเกินไป, ไม่ระมัดระวังกระดูกจากเนื้อสัตว์หรือเมล็ดผลไม้

 

เด็กเล็ก

 

  • วัยนี้จะหยิบจับอะไรก็มักจะนำเข้าปาก บางอย่างไม่ใช่ของที่รับประทานจึงทำให้ติดคอได้ รวมทั้งฟันกรามยังไม่แข็งแรงที่จะสามารถเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่

 

อุบัติเหตุ

 

  • โดยเฉพาะผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรมและช่องปาก

 

โรคหรือภาวะความผิดปกติ

 

  • หลอดอาหารเป็นอัมพาต

 

  • โรคประสาทที่ส่งผลต่อการกลืน

 

  • ผู้ป่วยทางจิตเวช

 

รีบกิน

 

 

 

อาการเมื่ออาหารติดคอ

 

ทางเดินอาหาร

 

  • เจ็บคอขณะพูดหรือกลืน รวมทั้งหน้าอก

 

  • น้ำลายไหล

 

  • อาเจียน

 

กล่องเสียง

 

  • ไอ

 

  • เสียงแหบ

 

  • หายใจเสียงดัง

 

  • หอบ

 

  • ตัวเขียว

 

  • ดิ้นทุรนทุราย

 

หลอดลม

 

  • หายใจลำบาก

 

  • มีเสมหะปนโลหิตหรือหนอง

 

  • เกิดความผิดปกติแทรกซ้อน โดยเฉพาะปอดและทางเดินหายใจ

 

 

สำลักอาหาร

 

 

การวินิจฉัยอาหารติดคอ

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ ถามอาการเจ็บปวดที่ตรงบริเวณใด อาหารที่รับประทานครั้งล่าสุดคืออะไร หลังจากนั้นก็ตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยการดูคอ หากมีเศษอาหารติดค้างอยู่ที่บริเวณโคนลิ้น ต่อมทอนซิล แพทย์จะใช้เครื่องมือคีบออกมา หากไม่พบจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีนำมาหาความผิดปกติที่หน้าอก หรือช่องท้อง ได้แก่

 

  • การเอกซเรย์

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • สอดกล่องส่องเข้าไปในปาก

 

 

ตรวจร่างกายหลังอาหารติดคอ

 

 

อาหารติดคอปฐมพยาบาลอย่างไร

 

วัยผู้เด็กโตหรือผู้ใหญ่

 

  • ยืนอยู่ด้านหลังผู้ป่วย

 

  • โอบรอบใต้รักแร้ มือข้างหนึ่งกำแล้วหันกำปั้นด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าไปที่หน้าท้องผู้ป่วย แล้ววางไว้เหนือสะดือแต่สูงต่ำกว่าลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบกำปั้นไว้

 

  • รัดกระตุกที่หน้าท้องเข้าพร้อมกัน แรง ๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก หรือผู้ป่วยสามารถพูด ร้องออกมาได้

 

  • โทรแจ้งเจ้าหน้าที่นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

ผู้ป่วยหมดสติ

 

  • จัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทำ CPR

 

  • กดหน้าอกนวดหัวใจ ช่วยหายใจโดยการเปิดปากนำสิ่งแปลกปลอมออกมา

 

เด็กเล็ก

 

  • จัดท่าทางของน้องให้นอนคว่ำหน้าพาดท่อนแขนไว้

 

  • ประคองศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว

 

  • ใช้ฝ่ามือกระแทกบริเวณสะบักด้านหลัง

 

  • สลับกับการนอนหงาย 5 ครั้ง ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว

 

  • หากเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากให้ล้วงออก

 

  • หากทำแล้ว 3 ครั้ง อาการยังไม่ดีขึ้น รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

 

 

CPR

 

 

การป้องกันอาหารติดคอ

 

สำหรับผู้ใหญ่ควรระมัดระวังขณะรับประทานอาหารโดยการ

 

  • นั่งตัวตรง อิ่มเสร็จแล้วห้ามนอนทันที ควรนั่งพักหรือเดินย่อยสัก 15 – 20 นาที

 

  • แบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

 

  • เคี้ยวให้ละเอียด อย่างช้า ๆ

 

  • หากเหนื่อยหรือรีบเร่งควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหาร รวมทั้งการพูดคุยหรือเดิน

 

  • รับประทานอาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว เพื่อให้กลืนอาหารง่ายไม่ฝืดคอ

 

  • อาหารที่แข็งหรือแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้นุ่มขึ้น

 

เด็กเล็ก

 

  • สั่งสอนห้ามนำสิ่งของเข้าปาก

 

  • แสดงท่าทางขณะรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะให้เป็นตัวอย่าง ไม่โยนอาหารเข้าปากให้เห็น

 

  • ระมัดระวังเศษกระดูก ก้างปลา เมล็ดผลไม้ ก่อนรับประทานอาหาร

 

  • เลือกเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับความแข็งแรงของฟัน

 

 

อาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เกิดการระคายเคือง เป็นแผลบริเวณหลอดอาหาร สามารถร้ายแรงถึงขั้นขาดอากาศหายใจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา และเสียชีวิตลงในที่สุด หากอุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นขณะรับประทานอาหารได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างปลอดภัยแล้ว ก็ควรที่จะมาตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกหูคอจมูก

 

 

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง