รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง สามารถใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่บริเวณคอ เพราะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ซึ่งหากตรวจพบการตีบของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่บริเวณคอ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง ก่อนการเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้

 

 

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound)

      

  • การตรวจดูผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง

      

  • การตรวจหาคราบหินปูน (Calcified Plaque) ที่อยู่ตามบริเวณหลอดเลือดที่คอ เพื่อดูภาวะตีบแคบของหลอดเลือด

      

  • วัดความหนาของผนังหลอดเลือด CCA (Intima Media Thickness) 

      

  • วัดความเร็ว และทิศทางการไหลเวียนของโลหิตในหลอดเลือดออกมาเป็นกราฟได้อย่างละเอียด

      

  • ทำการตรวจเปรียบเทียบข้อมูลทั้งซ้าย และขวาของ Carotid และ Vertebral Arteries หากผนังหลอดเลือดคอมีการหนาตัวขึ้น หรือมีคราบหินปูนเกาะจนหลอดเลือดคอตีบแคบ เลือดจะไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้เกิดอัมพาตได้

 

ในการตรวจวิธีนี้จะใช้เครื่องมือ Transducer ที่เป็นตัวรับ-ส่งคลื่นเสียงบริเวณหลอดเลือดตรงคอของผู้ป่วย ซึ่งจะได้ข้อมูลในทันที มีความปลอดภัย และไม่เจ็บ

 

 

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasonography)

 

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasonography) เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงที่คอทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูหลอดเลือดแดงใหญ่ด้านหน้า  (Carotid) และหลอดเลือดแดงด้านหลัง (Vertebra)  หลอดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ในสร้างภาพ และแสดงผลการตรวจ

 

 

ข้อดีของการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

 

  • ช่วยอำนวยความสะดวก ในการตรวจ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดใหญ่ที่คอ

 

  • ในการวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะเส้นเลือดใหญ่ที่คอตีบตันมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

  •  สามารถใช้ร่วมกับวิธีการตรวจเส้นเลือดในสมองอื่นๆได้ เช่น การตรวจด้วยเครื่อง CT scan การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Angiography)

 

 

ผู้ที่ควรทำการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

      

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่หลอดเลือดแดง

      

  • ผู้ที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว (TIA)

      

  • ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดใหญ่เออร์ตาโป่งพอง (Aortic Aneurysm)

      

  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

      

  • ผู้ที่สูบบุหรี่

      

  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

 

 

ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

 

 

ข้อปฏิบัติในการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

 

  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

 

  • ไม่ใส่เครื่องประดับบริเวณคอ เช่น สร้อยคอ

 

  • ไม่ควรทาแป้งบริเวณคอก่อนการตรวจ

 

 

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมักจะอยู่ในการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ชา และอ่อนแรงครึ่งซีก วูบ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง