นิ่วทอนซิล แม้ไม่อันตรายแต่กระทบต่อบุคลิกภาพ
นิ่วทอนซิล แม้ไม่อันตรายแต่กระทบต่อบุคลิกภาพ

นิ่วทอนซิล (Tonsillolith/Tonsil Stones)  คือ ก้อนขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วสีเหลืองหรือขาวบริเวณต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ จากการสะสมของเซลล์ที่ตายแล้วรวมทั้งแบคทีเรียต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพขณะพูดคุยสื่อสารกัน และยังทำให้อวัยวะนั้นระคายเคืองได้ แม้ว่าจะไม่มีไม่อันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแต่อย่างใดก็ตาม

 

 

นิ่วทอนซิลเกิดจากอะไร

 

การสร้างเนื้อเยื่อส่วนเกินบริเวณทอนซิลเป็นเพราะติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบขึ้น มีร่อง ซอก หลุม ส่งผลให้น้ำลาย เศษอาหารเข้าไปติด สะสมก่อตัวกัน ผู้ป่วยอาจมีเพียง 1 ก้อน หรือก้อนเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเกิดจากการทำความสะอาดในช่องปากไม่เพียงพอ ป่วนเป็นไซนัสเรื้อรัง และการมีต่อมทอนซิลที่ใหญ่กว่าปกติ

 

 

 

 

อาการของนิ่วทอนซิล

 

นอกจากพบก้อนและมีกลิ่นปากแล้ว อาจมีความผิดปกติร่วมอื่น ๆ ดังนี้

 

  • เจ็บคอ

 

  • ไอเรื้อรัง

 

  • กลืนอาหารลำบาก

 

  • เหมือนมีอะไรติดอยู่ในคอตลอดเวลาจนเกิดความรำคาญ

 

  • ทอนซิลบวม

 

  • ปวดร้าวบริเวณหู

 

 

 

 

การวินิจฉัยนิ่วทอนซิล

 

แพทย์ตรวจโดยใช้มือล้วงเข้าไปในช่องคอผู้ป่วย นอกจากนี้อาจใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อยืนยันผลวินิจฉัย ได้แก่

 

  • การเอกซเรย์ (X-Ray)

 

  •  ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

 

การรักษานิ่วทอนซิล

 

บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

 

  • ใช้เกลือครึ่งหนึ่งของน้ำอุ่นปริมาณ 230 มิลลิลิตร กลั้วคอด้วยความแรงพอประมาณ จะช่วยบรรเทาการระคายเคืองในช่องคอ

 

อุปกรณ์เครื่องมือ

 

  • เช่น ก้านสำลี คอตตอนบัด แปรงสีฟัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

 

ยาปฏิชีวนะ

 

  • สามารถลดเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่ควรใช้ในระยะยาวเพราะอาจเกิดผลข้างเคียงและไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดโรค

 

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง รุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่เป็นผล

 

เลเซอร์

 

  • แพทย์จะใช้ยาชา และนำเลเซอร์กำจัดเนื้อเยื่อที่มีนิ่ว ส่งผลให้ต่อมทอนซิลเกิดการระคายเคืองได้

 

Coblation

 

  • เป็นการใช้คลื่นรังสีเปลี่ยนสารละลายกลุ่มโซเดียมให้เป็นไอออน แล้วตัดเนื้อเยื่อ คล้ายกับวิธีข้างต้น เพียงแต่ว่าไม่ก่อความระคายเคืองแต่อย่างใด

 

 

 

 

การป้องกันนิ่วทอนซิล

 

  • ล้างมือบ่อย ๆ

 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น

 

  • ทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟันอย่างถูกวิธี

 

  • ไม่สูบบุหรี่

 

 

หากพบความผิดปกติหรือมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ไม่ควรใช้เครื่องมือเอาออกเองโดยพลการอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ เลือดออก ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ต้องได้รับการผ่าตัด เพราะเป็นวิธีที่กำจัดนิ่วได้โดยการตัดเนื้อเยื่อออก ใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ไม่ต้องทนทุกทรมานกับความเจ็บปวด หรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกหูคอจมูก

 

 

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

 

 

ต่อมทอนซิลไม่ได้ชิลอย่างที่คิด

 

 

ไอศกรีมช็อกโกแลตกับต่อมทอนซิลอักเสบ