วุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันบุคคลที่อายุยังไม่มาก จากการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์มากจนเกินไป ก็สามารถเป็นโรควุ้นตาเสื่อมได้ โดยสังเกตอาการ เช่น เห็นจุดสีดำลอยขึ้นมา คล้ายแมลงหวี่บินรอบดวงตา หรือการอยู่ในที่มืด หรือหลับตาลง แต่เห็นแสงแฟลชเหมือนกล้องถ่ายรูป หากมีอาการดังกล่าวควรมาพบจักษุแพทย์โดยทันที
วุ้นตา (Vitreous) มีลักษณะเป็นเจลหนืด ใส อยู่บริเวณส่วนหลังของภายในช่องตา ซึ่งประกอบด้วยน้ำ โปรตีน เส้นใย ได้แก่ คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อวุ้นตาเกิดการเสื่อมสภาพจากเจล กลายเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ในตาจะหดจับกันเป็นก้อนขุ่น เกิดการลอกออกของวุ้นตาจากผิวจอตา หรือผิวจอประสาทตาลอก(Posterior Vitreous Detachment : PVD) หากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดบริเวณจอตา มีเลือดออกในวุ้นตา และสามารถฉีกขาดได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะเข้าสู่ภาวะจอตาหลุดลอก (Retinal Detachment) ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นตลอดชีวิตได้
ในเบื้องต้นจักษุแพทย์จะสอบถามประวัติ และอาการผู้ป่วย และทำการตรวจบริเวณตาส่วนหน้าโดยการใช้กล้อง (Slit Lamp) การหยอดยาขยายรูม่านตา และใช้แสงไฟจากกล้องส่องตรวจในตาเพื่อตรวจดูจอตา และวุ้นตาอย่างละเอียด รวมทั้งการตรวจว่าตาพร่ามัวสู้แสงได้หรือไม่
อาการวุ้นตาเสื่อม เช่น การเห็นจุดสีดำลอยไป ลอยมา หรือเห็นแสงแฟลชในที่มืด สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าหากมีปัญหาการฉีกขาดของจอตา มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็น จักษุแพทย์จะทำการรักษาดังนี้
ผู้ที่เข้ารับการตรวจวุ้นตาเสื่อมกับจักษุแพทย์นั้น ไม่ควรขับรถมาด้วยตนเอง เพราะไม่ปลอดภัยหลังจากการตรวจแล้ว อาจเกิดอุบัติเหตุได้ ควรมีบุคคลอื่นมาช่วยเหลือด้วย ทั้งนี้ควรเตรียมแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันอาการตาสู้แสงไม่ได้ และหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยควรมาทำตามนัดหมายของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด