หูด โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV
หูด โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV

หูด คือ โรคผิวหนังที่มีการหนาตัวขึ้นจากการกระตุ้นเซลล์ผิวหนังโดยเชื้อไวรัสเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) หูดมีหลายชนิด และหลายขนาด สามารถเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วนตามร่างกาย ติดต่อจากการที่ผิวหนังมีแผล และเกิดการสัมผัสโดยตรง หรือทางเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย รวมทั้งการแกะ เกา แผลที่มีเชื้อหูดของผู้ป่วยเอง และไปสัมผัสบริเวณร่างกายส่วนอื่น ก็สามารถเกิดการแพร่กระจายได้เช่นกัน

 

 

หูด มีกี่ชนิด

 

หูดสามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้

 

  • หูดธรรมดา (Common Warts)

 

  • หูดชนิดแบนราบ (Plane Warts, Flat Warts) ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ ลักษณะสีคล้ายผิวหนัง

 

  • หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar Warts and Plantar Warts)

 

  • หูดที่อวัยวะเพศ (Condyloma Accuminata) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคหูดหงอนไก่

 

  • หูดติ่งเนื้อ (Filiform Wart )

 

 

อาการของโรคหูด

 

อาการของโรคหูดสามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของโรค

 

หูดธรรมดา (Common Warts)

      

  • มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ มักจะเกิดหูดที่บริเวณใบหน้า ข้อศอก นิ้วมือ นิ้วเท้า และหัวเข่า สามารถเกิดขึ้นได้เพียง 1 ตุ่ม หรือหลายตุ่มในบริเวณเดียว

 

หูดชนิดแบนราบ (Plane Warts, Flat Warts)

      

  • ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ ลักษณะสีคล้ายผิวหนัง มักจะเกิดหูดที่บริเวณใบหน้า คอ แขน และหลังมือ

 

หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar Warts and Plantar Warts)

      

  • มีลักษณะเป็นปื้นหนาแข็ง ผิวขรุขระ คล้ายตาปลา เมื่อยืน หรือเดิน จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ

 

หูดที่อวัยวะเพศ (Condyloma Accuminata)

      

  • ลักษณะเป็นตุ่มนูน สีชมพู หรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ แรกเริ่มเมื่อติดเชื้อจะแสดงออกเป็นรอยโรคเพียงเล็กน้อย และจะลุกลามขยายใหญ่จนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ มักจะพบที่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ

 

หูดติ่งเนื้อ (Filiform Wart )

      

  • ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระ เป็นติ่งยื่นจากผิวหนัง แต่ไม่แข็งมากเหมือนกับหูดชนิดอื่นๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

 

 

การรักษาโรคหูด

 

โดยปกติทั่วไปแล้ว โรคหูดมักจะสามารถหายเองได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรงจะต้องทำการรักษา ได้แก่

      

  • การใช้ยา ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก ใช้เวลาในการรักษาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

      

  • การใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวจี้หูด ขณะทำการจี้หูดจะมีอาการเจ็บ แสบ เพียงเล็กน้อย และมีแผลเป็นตุ่มน้ำ และค่อยๆยุบแห้ง ตกสะเก็ด อาจะต้องจี้หลายๆครั้ง เพื่อให้หายขาด

      

  • การจี้หูดด้วยไฟฟ้า โดยใช้ความร้อนรักษาหูดสามารถหายขาดได้ จากการจี้เพียงไม่กี่ครั้ง  หรือครั้งเดียว แต่อาจจะเป็นแผลเป็นหลังการรักษา

      

  • การจี้หูดด้วยเลเซอร์ มีราคาที่สูงกว่าการรักษาแบบอื่นๆ

      

  • การผ่าตัด

      

  • การใช้ยากระตุ้นภูมิ (DCP) สำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนหูดเป็นจำนวนมาก ใช้เวลารักษามานาน และยังไม่หายขาด

 

 

หูด

 

 

การป้องกันโรคหูด

      

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

      

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

      

  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

      

  • ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

      

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด และการใช้สิ่งของร่วมกัน

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำสาธารณะ

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้บริการร้านทำเล็บที่ไม่สะอาด

      

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

 

 

นอกจากนี้ในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษา และการป้องกันโรคหูดได้ เช่น โหระพา กระเทียม และน้ำมันละหุ่ง โดยเฉพาะใบโหระพาที่มีสารในการป้องกัน เชื้อไวรัสได้ HPV ได้ ทั้งนี้หากมีอาการของโรคหูด ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะมันสามารถติดต่อแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ หรือหูดบางชนิด สามารถกลายเป็นมะเร็งได้เช่นกัน

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV Vaccine