ต้อกระจก คืออะไร
ต้อกระจก คืออะไร

ต้อกระจก (Cataracts) คือ โรคที่แก้วตา หรือเลนส์ตามีความขุ่นมัว ปกติแล้วเลนส์ตาจะมีความใส ทำหน้าที่รวมแสงให้ตกบนจอประสาทตา เมื่อเกิดต้อกระจก ประสาทตาจะรับแสงไม่เต็มที่ ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมาก การมองเห็นยิ่งลดน้อยลง  โดยมากโรคนี้มักจะเกิดในผู้สูงอายุ หากไม่รักษา อาจทำให้ตาบอดตลอดได้

 

 

ต้อกระจกเกิดจากอะไร

 

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น

 

  • ดวงตาได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานๆ

 

  • โรคประจำตัวเช่น เบาหวาน จะกระตุ้นให้เกิดต้อกระจก

 

  • โรคทางตา เช่น สายตาสั้นมาก มีประวัติการผ่าตัดจอตา

 

  • อุบัติเหตุทางดวงตา หรือได้รับความกระทบกระเทือน เช่น นักมวย

 

  • กรรมพันธุ์ และความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด จะเห็นว่าผู้ป่วยเป็นต้อกระจกก่อนเข้าวัยสูงอายุ

 

 

ต้อกระจกมีอาการเป็นอย่างไร

 

  • สายตาพร่ามัว เหมือนมีหมอกบัง ขุ่นมากหรือขุ่นน้อยอยู่กับระดับ และตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์

 

  • เห็นภาพซ้อน ผู้ป่วยบางรายในระยะแรกจะมีอาการสายตาสั้นมาก หรือเกิดอาการสายตากลับ

 

  • สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน

 

  • มองเห็นสีที่ผิดเพี้ยน

 

  • เมื่อต้อกระจกสุก รูม่านตาจะเป็นสีขาว ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ

 

 

การรักษาต้อกระจก

 

แพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียด เพื่อแยกชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของต้อกระจก อีกทั้งยังวัดความดันลูกตา กรวดน้ำวุ้นตา กับจอประสาทตา เพื่อให้แน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้สายตาขุ่นมัว หรือมีโรคตาอื่นมาประกอบด้วยในบางกรณีจักษุแพทย์บางท่านอาจใช้ยาหยอดตา เพื่อชะลอความรุนแรงของต้อกระจก             

 

ผู้ป่วยต้อกระจกในระยะแรกจะตัดแว่นสายตาใหม่ หรือใส่แว่นกันแดดกันแสงสะท้อน แต่ถ้าหากยังไม่หายจนมีผลต่อกิจกรรมชีวิตประจำวัน จึงต้องทำการผ่าตัดในที่สุด

 

 

การผ่าตัดต้อกระจก

 

การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ หรือ เฟโค แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวด์ เข้าสลายต้อกระจกจนหมด จึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ แผลมีขนาดเล็กเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

 

วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง  กรณีนี้ต้องเป็นต้อกระจกที่สุก และแข็งมาก ๆ แพทย์จะเปิดแผลบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม.เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

 

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจก

 

  • งดน้ำ งดอาหาร ก่อนเข้าผ่าตัด 6 ชั่วโมง

 

  • งดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด เพราะมีความเสี่ยงเลือดออกมาในระหว่างการผ่าตัด หากมีการใช้ยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า

 

  • แพทย์อาจให้ใช้ยาหยอดตาปฏิชีวนะล่วงหน้าการผ่าตัด 1-2 วัน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อและอาการบวมระหว่างการผ่าตัด

 

  • แพทย์อาจมีการตรวจด้านอื่นในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เช่น การอัลตราซาวด์ดูความโค้งของเลนส์ตา ขนาดและรูปร่างของดวงตา เพื่อช่วยในการวางแผนการเลือกเลนส์ตาเทียมได้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการผ่าตัด

 

 

การเตรียมตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก

 

  • สวมที่ครอบตาตลอดเวลาหลังการผ่าตัด จนกว่าแพทย์จะแนะนำให้เอาออก

 

  • พยายามอย่าขยี้ตา และ อย่าให้น้ำเข้าตา

 

  • ใช้ยาหยอดตา และรับประทานยา ตามที่แพทย์แนะนำ

 

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระทบกระเทือนต่อดวงตา เช่น การออกกำลังกาย การทำงานบ้าน เป็นต้น

 

ควรมีผู้ดูแลผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด เพราะกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นของดวงตา เช่น การทำอาหาร การขับรถ เป็นต้น

 

 

ต้อกระจก

 

 

การป้องกันโรคต้อกระจก

 

  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรตรวจดวงตาด้วยวิธีขยายม่านตา ปีล่ะ 1 ครั้ง

 

  • นอนให้ครบ 6 ชั่วโมงต่อวัน

 

  • งดสูบบุหรี่

 

  • เวลาใช้สายตานานๆ เช่น อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์ ควรมีการพักสายตา

 

  • ปรับแสงในห้องให้ปกติ ไม่สว่างและมืดจนเกินไป

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จากโปรตีน เช่น นม ไข่ วิตามินที่มีสารอนุมูลอิสระ และวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา เช่น แครอท ฟักทอง

 

 

ผ่าตัดต้อกระจก กับสิทธิประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิการเปลี่ยนกระจกตา ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่ากระจกตาเสื่อมตามอายุ กระจกตาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือผิดปกติทางพันธุกรรม และกระจกตาขุ่นจากโรคทางภูมิร่างกายผิดปกติ เช่น แพ้ยาบางชนิด เป็นต้น

 

 

การผ่าตัดต้อกระจกมีความปลอดภัย และอาการแทรกซ้อนน้อย อีกทั้งยังมีสิทธิประกันสังคมยังรับรองผู้ประกันตนที่จะทำการรักษาการผ่าตัดต้อกระจก สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเป็นโรคเบาหวาน ควรไปตรวจดวงตา หากมีอาการตาพร่ามัว ควรไปพบแพทย์ทันที หากเป็นโรคต้อกระจกจริงจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่มีความเสี่ยงต่อความพิการทางสายตา 

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

สิทธิประกันสังคมปี 2565 

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี