เมื่อพบก้อนบริเวณลำคอ เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เมื่อพบก้อนบริเวณลำคอ เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมน้ำเหลือง ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน   หากคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอ รักแร้ เช่น ตับ ปอด สมอง และกระดูกขาหนีบ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว เพราะภายในอวัยวะของระบบน้ำเหลือง เช่น ม้าม ต่อมทอนซิล ต่อมไทมัส และไขกระดูก มีหน้าที่นำสาร

อาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย อีกทั้งยังมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย หากมีความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง คุ้มกันจะต่ำลง และเกิดการติด

เชื้อได้ง่าย

 

 

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น คลำพบก้อนที่บริเวณ คอ รักแร้ ขาหนีบ มักไม่เจ็บ ร่วมกับอาการ มีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไอเรื้อรัง และปวดศีรษะ

 

อาการลุกลามของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น เจ็บตรงก้อนที่บริเวณ คอ รักแร้ ขาหนีบ มีอาการซีด เลือดออกตามตัว และจะมีก้อนในท้องโตขึ้น  ส่งผลให้แน่นท้อง อาหาร

ไม่ย่อยสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง

 

 

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ประเภท

 

  • 1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma: HL) เกิดจากความผิดปกติลิมโฟไซต์ชนิดB หรือชนิดT ซึ่งเป็นชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ และสะสมกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลืองในที่สุด

 

  • 2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin's Lymphoma: NHL) เกิดความผิดปกติและทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะถูกสะสมจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

  • การตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ (ฺBiopsy) แพทย์จะตัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง เพื่อนำไปตรวจหาเซลล์ในกล้องจุลทรรศน์

 

  • การตรวจเลือด แพทย์จะนำเลือดของผู้ป่วยไปตรวจสอบ และวิเคราะห์ จำนวน รูปร่างของเซลล์เม็ดเลือด

 

  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( PET scan หรือ CT scan) แพทย์จะตรวจหาเซลล์มะเร็งในส่วนอื่นของร่างกายโดยใช้วิธีการสร้างภาพทางด้านรังสีวิทยา

 

 

 ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 4 ระยะ

 

  •  ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองเพียงจุดเดียว

 

  •  ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง 2 จุดขึ้นไป โดยอยู่ภายในด้านเดียวกันของกะบังลม

 

  •  ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง 2 จุดขึ้นไป โดยอยู่คนละด้านของกะบังลม

 

  •  ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ นอกระบบน้ำเหลือง เช่น สมอง ตับ ปอด และกระดูก

 

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

 

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

  •  การเฝ้าติดตามโรค (Watch & Wait) แพทย์จะติดตาม และตรวจสอบอาการผู้ป่วยเป็นระยะๆ สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการของโรค หรือผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตช้า

 

  •  การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้ยาทางเคมีฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวยาแต่ละชนิดที่ผู้ป่วยได้รับ

 

  •  การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) การใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

 

  •  การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant) การทำลายเซลล์มะเร็ง และแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ  มี 2 ประเภท คือ  การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) และ  การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)

 

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และประกันสังคม

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็น1 ใน 20 โรคมะเร็งที่ประกันสังคมให้สิทธิกับผู้ประกันตนเข้ารับการรักษา สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 ต่อราย/ต่อปี

 

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มบุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้อย่างหายขาด ถ้าหากเป็นในระยะแรกเริ่ม รักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน และร่างกายมีการตอบสนองที่ดี 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

สิทธิประกันสังคมปี 2565