การฝังเข็ม หรือ Acupuncture เป็นหนึ่งในศาสตร์ของแพทย์แผนจีน โดยสืบทอดและใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี วิธีการรักษา คือ ใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดบนร่างกาย โดยจุดนั้นจะต้องเป็นจุดที่มีพลังงานเยอะกว่าจุดอื่น ๆ ทำให้พลังงาน และอวัยวะในร่างกายที่เกิดการเสียสมดุล กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลเช่นเดิม
การฝังเข็ม คือ การแทงเข็มขนาด 0.20-0.30 มม. ยาว 30-45 ซม. ผ่านผิวหนังบริเวณจุดฝังเข็มไปที่เส้นลมปราณ เพื่อทำการรักษาในแต่ละโรคของเส้นลมปราณนั้น ๆ จำนวนเข็มขึ้นอยู่กับโรคแต่ละโรค ระยะเวลาประมาณ 30 นาที จึงนำเข็มออก
โรคปวดหัวไมเกรน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า หมอนรองกระดูกทับเส้น
โรคทางระบบประสาท โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต มือชา แขนขาชา และอ่อนแรง
ปรับสมดุล ร่างกาย
กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ บ้านหมุน ทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน และโรคภูมิแพ้
ขณะฝังเข็มจะรู้สึกเมื่อถึงเส้นลมปราณว่า ตื้อ ปวด หนัก แปล๊บ ๆ ซึ่งแต่ละคนจะรู้สึกต่างกันได้
ขณะคาเข็มจะรู้สึก ตึง หนัก ชา บริเวณนั้น หรืออาจรู้สึกว่าเหมือนมีอะไรวิ่ง วูบวาบอยู่ภายในตัว
ขณะเอาเข็มออกจะรู้สึกเจ็บจี๊ด หรือมีเลือดซึมเล็กน้อยบริเวณรูเข็ม (ควรตรวจดูว่ามีเข็มคาอยู่หรือไม่)
บรรเทาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและการเจ็บปวดตามร่างกาย
กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
แก้ไขปัญหาการไหลเวียนโลหิตที่ติดขัด
ช่วยปรับสภาพสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
ฝังเข็มใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที/ครั้ง แล้วแต่แพทย์พิจารณาว่าควรมาต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
หลังจากที่เริ่มกระบวนการฝังเข็ม ควรอยู่ในท่าที่แพทย์กำหนดเป็นระยะเวลา 25-30 นาที
ในขณะเข้ารับการฝังเข็ม ถ้าเกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที
สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
ผู้ป่วยที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าอยู่ในตัว
มีโรคทางเลือด และกินยาละลายลิ่มเลือดอยู่
ข้อห้ามอื่นที่ควรไปรักษาโดยวิธีอื่นก่อน
เกิดอาการกลัวเข็มมากจนเป็นลม
มีโรคทางจิตเวช และโรคเลือด
ทานอาหารก่อนทุกครั้งที่จะมาฝังเข็ม และพักผ่อนให้เพียงพอ
ให้มีญาติของผู้ป่วยมาด้วย ในกรณีที่มีอายุมาก หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
กรณีที่เป็นโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ หรืออื่น ๆ ให้แจ้งก่อนพบแพทย์
ขณะฝังเข็มห้ามเคลื่อนไหวบริเวณที่ปักเข็ม เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
ให้มาตามนัดเพื่อที่จะได้รักษาอย่างต่อเนื่อง หากผิดนัดถือว่าท่านสละสิทธิ์ให้ผู้อื่นแทน
การฝังเข็ม เป็นวิธีการรักษาที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีงานวิจัยและผลการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้จริง ๆ ผู้ป่วยทุกท่านควรหาข้อมูลว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการได้จริงหรือไม่ รักษาโรคอะไรได้บ้าง มีข้อแนะนำและข้อห้ามอย่างไร ถ้าผู้ป่วยท่านใดที่เข้ารับการรักษาโดยการฝังเข็ม และมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เกิดอาการปวดมากขึ้น ควรรีบแจ้งกับทางแพทย์หรือพยาบาลทันที