ภาวะถอนพิษสุรา หรือ Alcohol Withdrawal เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ดื่มสุราประจำ และเป็นปริมาณมาก เมื่อถึงคราวต้องหยุดแบบเฉียบพลัน อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน จนนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้
มีประวัติว่าเคยเกิดภาวะถอนพิษสุรามาก่อน
เกิดปัญหาสุขภาพบางอย่างขึ้น
การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ
การดื่มแอลกอฮอล์ จะส่งผลให้สารเคมีในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอาจจะทำให้ผู้ป่วย มีความต้องการอยากที่จะดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การเสพติด
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน
มีเหงื่อออกที่บริเวณฝ่ามือ และใบหน้า
เกิดอาการชักกระตุก
ความดันโลหิตสูงขึ้น
หัวใจเต้นเร็วขึ้น ตัว มือ และหัวใจสั่น
ตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อตรวจดูอาการ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะขาดน้ำ มีไข้ มือสั่น เป็นต้น
ตรวจปัสสาวะ และเลือด เพื่อดูปริมาณของสารพิษภายในร่างกาย
อาจใช้วิธี CIWA-Ar เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ
เลือดเป็นกรดจากการดื่มแอลกอฮอล์
เกิดภาวะขาดน้ำ และอาจจะทำให้ติดเชื้อได้
น้ำ และเกลือแร่ภายในร่างกาย เกิดการไม่สมดุลกันขึ้น
ผู้ที่อาการไม่รุนแรง
งด หรือหลีกเลี่ยง การพบปะกับบุคคลที่เคยร่วมดื่มด้วยกัน
พยายามหากิจกรรมอื่นทำ เช่น ออกกำลังกาย, อ่านหนังสือ, เล่นเกม
ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่อาการรุนแรง
จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ด้วยการตรวจวัดความดันโลหิต ดูอัตราการเต้นของหัวใจ และระดับสารเคมีที่อยู่ในเลือด ว่ามีชนิดใดบ้าง จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท เพื่อบรรเทาอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาได้เอง แพทย์อาจจะต้องใช้วิธีการให้ยา และสารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ
ควบคุมการปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และต้องไม่ดื่มในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นาน ควรลดปริมาณแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรหักดิบแบบกระทันหัน หากพบบุคคลใกล้ตัว ติดแอลกอฮอล์ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อเข้ารับการรักษา และลดโอกาสในการเกิดภาวะถอนพิษสุรา
ภาวะถอนพิษสุรา เป็นอีกหนึ่งภาวะที่สายดื่มทั้งหลายควรระวังไว้ โดยจะเป็นอาการต่อเนื่องมาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะนี้อันตรายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อาจจะนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้ หากท่านใดมีบุคคลรอบข้าง ที่กำลังอยู่ในช่วงภาวะถอนพิษสุรา และเริ่มเข้าข่ายว่าจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรรีบพาเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อจะได้รับรักษาอย่างถูกวิธี และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ
โรคพิษสุราเรื้อรัง สายดื่มควรระวังไว้ให้ดี