ร้อนใน
ร้อนใน ปัญหากวนใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

 

อาการร้อนใน (Aphthous Ulcers) เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิด โดยแพทย์ได้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ฮอร์โมน หรือเชื้อไวรัส ถึงแม้ว่าอาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นหากเกิดภาวะลุกลามหรืออาการไม่ดีขึ้น ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจมีปัญหาอื่นตามมาได้

 

 

ร้อนในเกิดจากสาเหตุใด?

 

ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าร้อนในเกิดจากสาเหตุใด โดยเบื้องต้นอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ  ได้แก่

 

 

  • เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

 

  • เกิดจากลักษณะเฉพาะของร่างกายสตรี คือ ประจำเดือน

 

เสียดสีจากการจัดฟัน

 

  • บาดเจ็บจากการกัด, เกิดการกระแทกจากการแปรงฟัน, มีการเสียดสีจากการจัดฟัน หรืออุปกรณ์ทันตกรรมต่าง ๆ ภายในช่องปาก 

 

  • การแพ้อาหาร หรือการขาดสารอาหาร เช่น ช็อกโกแลต, ถั่ว, ชีส เป็นต้น

 

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

 

 

  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่ม NSAIDs

 

 

ร้อนในอาการเป็นอย่างไร? 

 

  • มีลักษณะบวมแดง และเจ็บตามจุดต่าง ๆ ภายในช่องปาก เช่น ที่ริมฝีปากด้านใน, ลิ้น, แก้ม 

 

  • ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น อาการไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นต้น

 

หากเป็นร้อนในแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที

 

แผลเกิดขึ้นมากกว่าจุดเดียว

 

  • แผลที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากกว่าจุดเดียว และเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ว่าแผลเก่าจะยังไม่หาย

 

  • แผลที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าปกติ หรือลุกลามไปยังบริเวณอื่น

 

  • มีอาการไข้สูงร่วมด้วยขณะมีแผลร้อนใน

 

  • เป็นแผลร้อนในอย่างต่อเนื่อง และไม่มีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

 

  • ผู้ที่มีปัญหา หรือมีอุปกรณ์ด้านทันตกรรมในช่องปากจนเป็นเหตุให้แผลหายช้า

 

 

ลักษณะของแผลร้อนใน

 

แผลร้อนในขนาดเล็ก

 

แผลร้อนในชนิดนี้ สามารถพบได้บ่อยใน 80% ของผู้ป่วยร้อนในทั้งหมด โดยลักษณะของแผลร้อนในชนิดนี้ จะเป็นแผลตื้นรูปทรงไข่ หรือทรงกลม จะมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีวงสีแดงและเนื้อเยื่อสีขาวเหลืองปกคลุมล้อมรอบแผล มักจะเกิดขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม, พื้นปาก, เพดานอ่อน หรือขอบของลิ้น เป็นต้น 

 

 

แผลร้อนในขนาดใหญ่

 

พบได้น้อย แต่มักจะมีอาการที่รุนแรง โดยจะมีขนาดของแผลประมาณ 1 - 3 เซนติเมตร ลักษณะจะเป็นแผลลึก, ขอบแผลยกนูน, รอบแผลมีอาการบวมหรืออักเสบ พบได้ที่บริเวณริมฝีปาก, เพดานอ่อน หรือบริเวณระหว่างปากและคอ ร้อนในชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นนาน โดยมีระยะเวลาอยู่ที่ 6 สัปดาห์ หลังจากแผลหายอาจทิ้งร่องรอยของแผลเป็นไว้

 

 

แผลร้อนในคล้ายแผลเฮอร์ปีส์

 

ร้อนในชนิดนี้มักจะพบได้น้อยมาก ๆ โดยอาการจะเป็นแผลชนิดรูปร่างกลม, รี ขนาดเล็กประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตรหลายแผล ร้อนในชนิดนี้จะมีลักษณะของแผลคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ มักมีอาการปวด ส่งผลให้รับประทานหรือกลืนอาหารลำบาก

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดร้อนใน

 

ความเครียด

 

  • แผลร้อนในจะถูกกระตุ้นจากความเครียด ยิ่งผู้ป่วยเครียดมากจะกระตุ้นโอกาสให้เกิดร้อนในมากขึ้นเช่นกัน

 

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องได้

 

  • การขาดวิตามินหรือเกลือแร่ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและวิตามินบี 

 

  • การแพ้สารบางชนิดภายในยาสีฟัน อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ส่งผลให้เกิดแผลเปื่อยขึ้น

 

  • การจัดฟัน กระพุ้งแก้มอาจมีโอกาสที่เหล็กดัดฟันจะเสียดสีบ่อย อาจทำให้เกิดแผลร้อนในเรื้อรังได้ 

 

  • การกัดโดนริมฝีปาก, ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มขณะรับประทานอาหาร

 

 

ร้อนในมีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร?

 

ร้อนในไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสอบหรือวินิจฉัยใด ๆ จากแพทย์ แต่ถ้าหากเป็นในกรณีที่เกิดแผลร้อนในรุนแรง แพทย์อาจจะใช้วิธีการตรวจเลือด และนำตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพราะแผลร้อนในที่เกิดการกระจายตัวและมีความรุนแรงนั้น อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง, การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ, การติดเชื้อไวรัส หรือความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน เป็นต้น

 

 

วิธีการรักษาร้อนใน

 

หากเป็นแผลร้อนใน โดยทั่วไปจะสามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่ต้องมีการปรับพฤติกรรมควบคู่ด้วย ดังนี้

 

  • การดูแลสุขภาพของช่องปากอยู่เสมอ ๆ เช่น การแปรงฟันโดยไม่ใช้แปรงที่มีขนแข็งจนเกินไป, ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และการใช้น้ำยาบ้วนปากอ่อน ๆ ที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านแบคทีเรีย เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก และลดอาการอักเสบ

 

  • การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด

 

  • การเลือกซื้อยามาทานเอง แต่ควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ด้วย

 

  • การใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดใช้ภายนอก

 

  • หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหรือยาที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

 

  • การจี้ด้วยไฟฟ้า

 

 

การป้องกันร้อนใน

 

อาการดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หมั่นทานผักและผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามินที่จำเป็นให้แก่ร่างกาย

 

แปรงฟัน

 

  • ดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากด้วยการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดแผลภายในช่องปาก โดยเฉพาะผู้ที่จัดฟัน

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสาร SLS

 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันอย่างน้อย 6 - 8 แก้ว/วัน 

 

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

 

  • หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

เครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการร้อนใน

 

  • น้ำเก๊กฮวย 

 

  • น้ำหล่อฮั้งก้วย

 

  • น้ำจับเลี้ยง

 

  • น้ำใบบัวบก

 

  • น้ำมะตูม

 

  • น้ำกระเจี๊ยบ 

 

 

แผลร้อนในถึงแม้ว่าจะหายได้เองเสียเป็นส่วนมาก แต่อาการที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความรำคาญ และความลำบากในการใช้ชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงควรรักษาสุขอนามัยของช่องปาก และเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเกิดโรคนี้ให้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการร้อนในที่รุนแรง ให้เข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและดำเนินการรักษาต่อไป