เมื่อร่างกายทำงานช้าลง อาจเป็นอาการของไฮโปไทรอยด์
เมื่อร่างกายทำงานช้าลง อาจเป็นอาการของไฮโปไทรอยด์

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์  คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่พอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปที่สมอง และกล้ามเนื้อไปยังผิวหนัง  ทำให้กระบวนการทำงานของร่างกาย และกระบวนการเมตาบอลิซึมช้าลง ไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หาก ไฮโปไทรอยด์เกิดจากตัวโรคของต่อมไทรอยด์เอง จะเรียกว่า ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ขั้นปฐมภูมิ (Primary Hypothyroidism)  หากไฮโปไทรอยด์เกิดจากต่อมใต้สมอง หรือโรคสมองส่วนไฮโปธารามัส ส่งผลมายังต่อมไทรอยด์ จะเรียกว่า ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ขั้นทุติยภูมิ (Secondary Hypothyroidism)

 

 

สาเหตุของไฮโปไทรอยด์

 

สาเหตุของภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ขั้นปฐมภูมิ (Primary Hypothyroidism) 

 

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดนำส่วนต่างๆ ของต่อมไทรอยด์ออกไป ทำให้ร่างกาย ลดหรือหยุดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้ป่วยต้องได้รับฮอร์โมนไทรอยด์ไปตลอดชีวิต

 

  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease) คือ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผลิตแอนติบอดี้ขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายตัวเอง ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ นำไปสู่ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์เช่น โรคไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto's Thyroiditis) 

 

  • การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) คือ การรักษาผู้ป่วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ด้วยการฉายรังสี (Radioactive Lodine) หรือยาต้านไทรอยด์ เพื่อปรับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้เป็นปกติ

 

  • โรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism) ในกรณีที่บางคนไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่องมาตั้งแต่เป็นทารก

 

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เช่น ยารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะทางจิต และโรคมะเร็ง

 

สาเหตุของภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ขั้นทุติยภูมิ (Secondary Hypothyroidism)

 

ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) การทำงานของต่อมใต้สมอง จะผลิตสาร TSH (Thyroid-Stimulating Hormone) ซึ่งช่วยกำหนดปริมาณการผลิต และส่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ หากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายลดลง

 

 

อาการของไฮโปไทรอยด์

 

อาการของไฮโปไทรอยด์จะปรากฏตามระดับความรุนแรงของการขาดฮอร์โมนไทรอยด์

 

  • น้ำหนักขึ้น อ้วนฉุ และบวมน้ำ

 

  • เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา

 

  • อ่อนเพลีย รู้สึกหนาวง่าย

 

  • ผิวบาง แห้ง ผมร่วง แห้ง และเล็บด้าน ฉีก ขาดได้ง่าย

 

  • เสียงแหบ

 

  • ความต้องการทางเพศลดลง

 

  • หากไฮโปไทรอยด์เกิดขึ้นกับเด็กทารก เด็กจะมีอาการ ตัวเหลือง หน้าบวม ลิ้นใหญ่คับปาก สำลักบ่อยๆ  

 

  • หากไฮโปไทรอยด์เกิดขึ้นกับเด็ก และวัยรุ่น จะมีอาการรูปร่างเล็ก ฟันแท้ขึ้นช้า เรียนรู้ช้า เข้าสู่วัยรุ่นช้า

 

 

การรักษาไฮโปไทรอยด์

 

การรักษาไฮโปไทรอยด์ด้วยการรับประทานยาลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)  ภายใน 1-2 สัปดาห์ จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ อีกทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอล

 

การได้รับยาลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)  เกินขนาด อาจส่งผลข้างเคียงได้  เช่น นอนไม่หลับ ใจสั่น และการเพิ่มขึ้นของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

 

 

ไฮโปไทรอยด์

 

 

การป้องกันไฮโปไทรอยด์

 

ไฮโปไทรอยด์เป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก ดังนั้นควรสังเกตตนเองบ่อยๆ หรือเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์ หากร่างกายมีความผิดปกติ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และการรักษา

 

ในเด็กทารกแรกเกิดนั้น สามารถทำการวินิจฉัยตรวจหาความผิดปกติ โดยการเจาะเลือดที่ส้นเท้า (Heel Prick Test)  หากตรวจพบว่าเด็กทารกเป็นไฮโปไทรอยด์ สามารถรักษาโดยการให้ฮอร์โมนสังเคราะห์ ส่งผลให้เด็กมีความเจริญเติบโตได้อย่างปกติ

 

 

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ สามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป แบ่งเป็นผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไป มี15 % และในส่วนของเด็กแรกเกิด 3,000 – 4,000 คน 1คน ที่จะเป็นโรคนี้ อีกทั้งยังพบอีกว่าผู้หญิงสามารถเป็นป่วยโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 2- 8 เท่า 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

ต่อมไทรอยด์ ต่อมแห่งการควบคุม

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์