ส่วนใหญ่แล้วการเกิดโรคมะเร็งจะมาจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกายผิดปกติ จนเป็นเนื้องอกรวมทั้งมะเร็งเนื้อร้ายเรียกว่า Somatic ซึ่งไม่สามารถพบได้ทุกเซลล์จากกรรมพันธุ์ แต่สำหรับมะเร็งเต้านมนั้น จะมีสารในพันธุกรรม หรือยีน BRCA ที่กลายพันธุ์ผิดปกติ หรือ Mutation ถ่ายทอดผ่านพ่อแม่สู่บุตรหลาน ทำให้บุคคลที่ได้รับมีความเสี่ยงของโรคมาก ซึ่งสามารถตรวจพบในยีนนี้ได้ เมื่อทราบถึงความเสี่ยงแล้วจะต้องหาทางป้องกัน ก่อนที่จะลุกลามเป็นอันตรายต่ออวัยวะในร่างกายส่วนอื่น
สารในพันธุกรรมนี้พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ มี 2 ชนิดได้แก่ BRCA1 และ BRCA2 ช่วยซ่อมแซม DNA ที่เสียหายให้มีเสถียรภาพรวมทั้งชะลอการแบ่งตัว ป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็ง แต่ถ้ารหัสของ DNA ในยีนทั้ง 2 ชนิดนี้เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เกิดความผิดปกติ
ตรวจคัดกรองหาการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม ในยีน BRCA1 และ 2
เก็บตัวอย่างโลหิตและส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจอื่น ๆ อีก เช่น ดูความผิดปกติของโปรตีนที่สร้างมาจากยีนที่ผิดปกติ
หากตรวจพบว่ายีน BRCA มีความผิดปกติ หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวทางสายเลือดที่เป็นมะเร็งเต้านม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งนั้นเหมือนกัน เพียงแต่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้คนทั่วไป ซึ่งควรปฏิบัติตามดังนี้
ปรับพฤติกรรม
ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
ตรวจโลหิต
พบแพทย์
โรงพยาบาลเพชรเวชยังไม่มีบริการตรวจหาความผิดปกติของยีนที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่สามารถมาตรวจอัลตราซาวด์โดยใช้เครื่องแมมโมแกรมได้ ไม่ว่าท่านจะเคยศัลยกรรมเสริมหน้าอกมา หรือขนาดหน้าอกที่ไม่ได้มาตรฐาน ขอให้ท่านมั่นใจ เพราะว่าเครื่องมือตัวนี้ สามารถตรวจดูความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ ไร้ซึ่งความเจ็บปวด ในขณะทำการตรวจ นอกจากนี้ยังมีสูตินรีแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษา ในการดูแลรักษาสุขภาพสตรี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)