มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรรู้

 

หนึ่งในโรคที่กล่าวได้ว่า มีโอกาสเกิดกับผู้หญิงได้เยอะเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม คือ มะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีอัตราความเสี่ยงมากถึงประมาณ 90 % หากไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ หรือแต่งงานแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น โดยปกติแล้วสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี แต่ด้วยความเสี่ยงที่สูง จึงต้องมีการฉีดวัคซีน HPV หรือทำการตรวจร่างกายเป็นประจำ

 

 

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

 

 

  • เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากจะพบสายพันธุ์ 16 และ 18 อาจติดต่อหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ 

 

 

  • เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ช่วงระยะก่อนมะเร็งมดลูก

 

 

  • เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม, โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน

 

 

ใช้ยาคุมกำเนิด

 

 

 

 

มะเร็งปากมดลูกอาการเป็นอย่างไร

 

 

ปกติแล้วเวลาเชื้อ HPV เข้าสู่ร่างกาย จะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา จนกว่าจะเข้าสู่ระยะที่มีการลุกลาม โดยสามารถสังเกตได้จากอาการ ดังนี้

 

 

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด บางคนอาจจะหมดประจำเดือนไปแล้ว แต่ยังมีเลือดออก หรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจจะไม่เคยเป็นมาก่อน

 

 

 

 

  • ตกขาวมีเลือดปนออกมา และส่งกลิ่นเหม็นคาว

 

 

เจ็บช่องคลอด

 

 

  • รู้สึกเจ็บ หรือปวดในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์

 

 

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปวดปัสสาวะบ่อย

 

 

  • อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร, ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา และปวดกระดูก เป็นต้น

 

 

มะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

 

  • ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น มะเร็งจะอยู่ที่บริเวณปากมดลูก

 

 

  • ระยะที่ 2 ระยะกลาง มะเร็งจะมีการลุกลามขยับไปยังบริเวณด้านข้างของปากมดลูก

 

 

  • ระยะที่ 3 ระยะกลาง ระยะนี้มะเร็งจะลุกลามไปจนถึงบริเวณอุ้งเชิงกรานแล้ว 

 

 

  • ระยะที่ 4 ระยะสุดท้าย ในระยะนี้มะเร็งจะเกิดการลุกลาม และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ทวารหนัก, กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

 

 

บุคคลใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

 

 

มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

 

 

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย 

 

 

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

 

 

  • ผู้ที่มีบุตรจำนวนมาก

 

 

  • ผู้ที่ไม่เคยตรวจภายในมาก่อนเลย

 

 

  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งปากมดลูก

 

 

เชื้อมะเร็งสามารถลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ และอาจลามไปถึงสมอง, กระดูก, ปอด เป็นต้น หลังจากอวัยวะดังกล่าวเริ่มติดเชื้อ จะส่งผลให้มีอาการเจ็บปวด หรือเลือดออกตรงบริเวณดังกล่าว, ช่องคลอดมีกลิ่น, ปัสสาวะมีเลือด นอกจากนี้ยังสามารถมีผลกับไต และอาจส่งผลรุนแรงจนถึงขั้นไตวายได้อีกด้วย

 

 

การรักษามะเร็งปากมดลูก

 

 

สำหรับขั้นตอน และรูปแบบการรักษา จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการรักษา โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะ และอาการของโรค เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้

 

 

  • ระยะก่อนพบมะเร็ง สามารถรักษา หรือทำการผ่าตัดบางส่วนของมดลูกเท่านั้น และต้องคอยติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด

 

 

  • ระยะพบมะเร็ง มีวิธีการรักษา เช่น การผ่าตัด, การทำเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา เป็นต้น

 

 

  • การรักษาสามารถทำร่วมได้มากกว่า 1 วิธี เนื่องจากอาจมีเชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นด้วย โดยต้องขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ที่ประเมินตามอาการ และความรุนแรงด้วย

 

 

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

 

 

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก จึงมีวิธีป้องกันดังนี้

 

 

สวมถุงยางอนามัย

 

 

 

 

  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือหลายคน

 

 

 

 

  • ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

 

 

  • วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งจะเป็นการป้องกันสายพันธุ์ที่ผู้ป่วยพบว่ามีความเสี่ยงมากที่สุด

 

 

จะเห็นได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบ ที่ผู้หญิงทุกคนต้องระวังมากที่สุด เพราะกว่าจะแสดงอาการออกมา อาจอยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว คุณผู้หญิงทุกท่าน สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพคัดกรอง หรือการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ กันไว้…ดีกว่าแก้ ก่อนทุกอย่างจะสายจนเกินควบคุม



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

โปรแกรมสุขภาพสตรี

 

ThinPrep ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างมีคุณภาพ

 

“มดลูกและรังไข่” ศูนย์กลางของความเป็นผู้หญิง

 

ทำไมต้องอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่