เบาหวานขึ้นตา
เบาหวานขึ้นตา ภาวะที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

 

โรคเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบที่พบได้ในโรคเบาหวาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากความเสียหายของดวงตาจากปริมาณน้ำตาลในร่างกายที่มีมากจนเกินไป เมื่อเกิดอาการขึ้น จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการมองเห็น โดยหากไม่ได้รับการดูแลจะทำให้มีอาการรุนแรง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

 

 

สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา

 

ผู้ที่สูบบุหรี่

 

เกิดจากน้ำตาลที่มีอยู่ในเลือดมากเกินไป ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจอตาเกิดการตัน ทำให้ต้องสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ เพื่อแทนเส้นเลือดเก่าที่เสียหายไป แต่เส้นเลือดใหม่ที่สร้างขึ้นมาจะยังไม่สมบูรณ์พอ จึงทำให้เลือด หรือสารน้ำอื่นไหลเข้าดวงตา นอกจากเบาหวานแล้ว ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขึ้นตาได้เช่นกัน

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานขึ้นตา

 

  • ระดับน้ำตาลภายในร่างกายสูง 

 

 

  • หากระยะเวลาที่เป็นเบาหวานยิ่งนาน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขึ้นตาเพิ่มมากขึ้น

 

 

สตรีตั้งครรภ์

 

 

 

 

  • โรคอื่น ๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคไต หรือความดัน และไขมันสูง เป็นต้น

 

 

เบาหวานขึ้นตามีอาการอย่างไร

 

อาการมักไม่ชัดเจน และไม่ค่อยแสดงผลอะไร แต่ในเวลาต่อมาจะเห็นจุด หรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา และสายตาไม่คงที่ โดยจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพ แล้วสูญเสียการมองเห็นในเวลาต่อมา ดังนั้น เมื่อเป็นโรคเบาหวาน จึงควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอาการเบาหวานขึ้นตา โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวาน และสตรีตั้งครรภ์ที่รู้สึกมีปัญหาเรื่องการมองเห็นฉับพลัน 

 

 

ภาวะเบาหวานขึ้นตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

 

 

เบาหวานขึ้นตาระยะแรกเริ่ม หรือระยะที่ยังไม่มีเส้นเลือดเกิดใหม่

 

เป็นระยะที่ผนังของเส้นเลือดจอตาไม่แข็งแรง เริ่มแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีการอุดตันของเส้นเลือดที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้มีอาการรุนแรงได้

 

 

เบาหวานขึ้นตาระยะก้าวหน้า หรือระยะที่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ 

 

เป็นระยะที่เส้นเลือดเกิดการอุดตัน จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ทำให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเส้นเลือดที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้ อาจไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างเหมาะสม และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อหินได้

 

 

การวินิจฉัยเบาหวานขึ้นตา

 

 

การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสี 

 

โดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่แขน เพื่อให้สีไหลผ่านเข้าสู่กระแสเลือด และไปยังดวงตา หลังจากนั้น แพทย์จะทำการถ่ายภาพดวงตา เพื่อหาเส้นเลือดที่มีการแตก, รั่ว, ซึม หรืออุดตัน

 

 

การสแกนจอประสาทตา 

 

เป็นการแสดงภาพตัดขวาง โดยให้เห็นความหนาของจอตา วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่า เกิดการรั่วซึมของเลือด และของเหลวที่บริเวณจอตาหรือไม่

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา

 

 

เลือดออกในวุ้นตา

 

เนื่องจากเส้นเลือดใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทนเส้นเลือดเก่าที่ได้รับความเสียหาย อาจสร้างขึ้นอย่างไม่เหมาะสม จึงอาจทำให้มีเลือดรั่วซึมออกมาที่วุ้นตา โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่มีเลือดออกในวุ้นตา จะไม่สูญเสียการมองเห็นแบบถาวร อาจใช้เวลาในการกำจัดเลือดออกจากวุ้นตาประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือภายในไม่กี่เดือน จากนั้นผู้ป่วยอาจจะกลับมามองเห็นได้ชัดเจนเช่นเดิม

 

 

จอตาลอก 

 

ส่งผลมาจากแผลเป็นที่เกิดขึ้น ได้ทำการดึงจอตาให้หลุดลอกออกจากด้านหลังของดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดจุดดำลอยไปมาเมื่อมองสิ่งรอบข้าง และเกิดการมองเห็นแสงวาบ หรือสูญเสียการมองเห็นขั้นรุนแรง

 

 

ต้อหิน 

 

เป็นผลมาจากกลุ่มเส้นเลือดใหม่ ที่อาจเกิดขึ้นบริเวณด้านหน้าของดวงตา และไปแทรกแซงการระบายน้ำออกจากลูกตา ส่งผลให้ความดันดวงตาสูงขึ้น จึงเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งภาพจากดวงตาไปยังสมอง

 

 

สูญเสียการมองเห็น

 

สูญเสียการมองเห็น

 

ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวานขึ้นตา หรือต้อหิน สุดท้ายแล้วอาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้

 

 

การรักษาเบาหวานขึ้นตา

 

 

การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะแรกเริ่ม

 

เป็นระยะที่ยังไม่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ หากมีอาการเพียงเล็กน้อยจนถึงระดับปานกลาง อาจยังไม่จำเป็นต้องรักษาในทันที แต่แพทย์จะคอยสังเกตอาการ หรือความผิดปกติของดวงตาอย่างใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อยับยั้งไม่ให้อาการลุกลาม

 

 

การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะก้าวหน้า 

 

ซึ่งเป็นระยะที่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องรักษาด้วยเลเซอร์ หรือผ่าตัด ซึ่งวิธีการจะแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่าเกิดปัญหาใดขึ้นกับดวงตา 

 

 

การฉีดยาเข้าสู่ดวงตา

 

แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการจอประสาทตาบวม โดยการฉีดยาจะช่วยให้ลดการบวมของจอประสาทตา

 

 

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรลดอาหารที่มีรสเค็ม, หวาน และไขมันสูง

 

 

  • ออกกำลังกายประจำ และสม่ำเสมอ

 

 

  • ควบคุมน้ำหนักโดยให้มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) อยู่ที่ระหว่าง 18.5-24.9

 

 

  • ลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

 

 

  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามที่แพทย์สั่ง

 

 

  • ผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ความดันโลหิต และไขมันในเลือด ให้เป็นไปตามปกติ หรือมาตรฐาน

 

 

เข้าพบแพทย์

 

 

  • สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น หากมีปัญหา เช่น ตามัว หรือมองเห็นเป็นจุดดำ ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

 

ภาวะความเสี่ยงเบาหวานขึ้นตาเป็นสิ่งที่อันตราย และหลายคนอาจมองข้ามปัญหาไป แต่ความรุนแรงของโรคน่ากลัวจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น จึงเป็นการดีกว่าถ้าเราดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน ที่เป็นสาเหตุของเบาหวานขึ้นตา หากมีผู้ป่วยท่านใดที่พบว่าตนเองมีอาการเข้าข่าย ให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และดำเนินการรักษา เพื่อไม่ให้อาการลุกลาม และรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

เบาหวาน โรคร้ายที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะสำคัญ