ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ แล้วกลายเป็นตัวอ่อน และไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก ซึ่งการท้องนอกมดลูกอาจจะเห็นได้ชัด เมื่อมีการตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้
ผู้ป่วยเคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน
การใช้ห่วงคุมกำเนิด
เกิดจากความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังของท่อนำไข่
การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ฮอร์โมนในกระบวนการตั้งครรภ์ไม่สมดุล
ประจำเดือนขาด, อ่อนเพลีย, คัดเต้านม
มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดออกไม่มาก
ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
มีอาการหน้ามืด, เป็นลม, เวียนศีรษะ
ในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดภายในช่องท้อง
ปวดบริเวณท้องน้อย, ไหล่, ลำคอ และทวารหนัก
ปวดบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง
มีเลือดออกแบบกะปริบกะปรอย
เจ็บไหล่, ผิวซีด, หมดแรง
แพทย์จะถามประวัติประจำเดือน และอาการต่าง ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ทดสอบการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะ
การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน
การตรวจภายใน หากผู้ป่วยรู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่บริเวณหน้าท้อง และช่องคลอด
การใช้ยา
แพทย์จะให้ยาเมโธเทรกเซทแก่ผู้ป่วย โดยเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่สามารถเจริญเติบโตได้ หากการใช้ยาไม่ตอบสนองต่อผู้ป่วย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นวิธีการผ่าตัดในลำดับต่อไป
การผ่าตัด
แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง โดยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
หากมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด แพทย์อาจจะให้เลือดแก่ผู้ป่วย เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป หรือถ้าหากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากการอักเสบ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาลดอาการอักเสบ
สังเกตอาการขณะตั้งครรภ์ หากมีความผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์
ขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัยเสมอ
ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่มีความอันตรายต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อพูดคุย และปรึกษาแนวทางในการดูแลตนเอง และทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณแม่ และทารก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ครรภ์เสี่ยง อันตรายที่คุณแม่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง