ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) คือ อาการที่เกิดจากข้อไหล่ที่ติดแข็ง จนไม่สามารถหมุนได้ตามปกติ และอาการมักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการยกของ, การหยิบจับวัตถุ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้หัวไหล่ เป็นต้น
ถุงหุ้มข้อไหล่ เกิดการอักเสบ
อายุ และเพศ พบได้บ่อยในผู้ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี และมักจะเกิดกับเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย
ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่บริเวณข้อไหล่
ผู้ที่เคลื่อนไหวได้น้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง
อาการของข้อไหล่ติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเจ็บปวด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดถึงแม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใด โดยอาการเจ็บปวดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเวลาที่ล้มตัวลงนอน และเวลากลางคืน
ระยะข้อยึด
อาการปวดของผู้ป่วยจะบรรเทาลง แต่จะยังคงปวดอยู่ ระยะนี้จะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ที่จะใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น
ระยะฟื้นตัว
อาการปวดของผู้ป่วยจะค่อย ๆ บรรเทาลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ดีขึ้นตามลำดับ และกลับสู่สภาวะปกติ
การเอกซเรย์ เพื่อดูกระดูก และเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณข้อต่อหัวไหล่ ทำให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้
การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI คือ การเอกซเรย์บริเวณหัวไหล่ เพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อ, กระดูก และน้ำไขข้อกระดูก
การตรวจเลือด ช่วยค้นหาสาเหตุจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน เพราะโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นข้อไหล่ติดมากกว่าผู้อื่น
การใช้ยารักษา เช่น ยาแก้ปวดที่ช่วยลดการอักเสบ ซึ่งยาบางชนิดอาจจะมีผลข้างเคียง ที่อาจส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วย จึงควรรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
การกายภาพบำบัด หากทำการกายภาพบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น
การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 6 เดือน และการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว
ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณหัวไหล่ และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ หากมีอาการปวด และเจ็บอย่างรุนแรง ให้ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำสำหรับการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับข้อไหล่ และผู้ป่วยยังสามารถออกกำลังกาย เพื่อบริหาร และป้องกันการเกิดข้อไหล่ติดได้เองที่บ้าน โดยมีวิธีการบริหาร ดังนี้
1.ท่าหมุนข้อไหล่
ให้ก้มหน้าลงเล็กน้อย และปล่อยแขนข้างที่มีอาการ ห้อยลงแบบตรง ๆ แล้วหมุนแขนในลักษณะวงกลมแบบช้า ๆ
2.ท่าบริหารกล้ามเนื้อไหล่ และสะบัก
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง และยกไหล่ข้างที่มีปัญหาขึ้น ให้ถืออุปกรณ์เสริมที่ผู้ป่วยหาได้ใกล้ตัว และทำการยกน้ำหนักเท่าที่ไหว ในลักษณะขึ้นลงแบบช้า ๆ
3.ท่านิ้วไต่กำแพง
ให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพง จากนั้นนำฝ่ามือวางที่กำแพง และใช้นิ้วไต่ขึ้น ให้สูงที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยไหว
4.ท่าผ้าถูหลัง
ให้ใช้มือจับผ้า แล้วนำไปไว้ด้านหลัง ในลักษณะที่มือข้างหนึ่งอยู่ด้านบน และอีกข้างอยู่ด้านล่าง โดยให้ใช้มือข้างที่อยู่ด้านบน ดึงผ้าขึ้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่ไหว และค้างไว้ 10 วินาที
อาการข้อไหล่ติด เป็นปัญหาอย่างมากต่อผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องใช้ข้อไหล่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การยกของ, การหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น หากท่านมีอาการ และปล่อยทิ้งไว้เพื่อรอให้หายเองตามธรรมชาติ หรือการบริหารข้อไหล่ และการนวดแบบผิดวิธี อาจทำให้อาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้นได้ หากท่านมีอาการ และคิดว่าอาจจะเป็นข้อไหล่ติด ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำ และดำเนินการรักษาต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง