เชื้อราที่เล็บ, เล็บเป็นเชื้อรา (onychomycosis) คือ การติดเชื้อในกลุ่มรา เชื้อกลากแท้ เชื้อกลากเทียม หรือยีสต์ ที่บริเวณเล็บ สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้
สวมใส่รองเท้าที่คับ แน่น หรืออับชื้นเป็นเวลานาน
เกิดแผลที่บริเวณนิ้วมือ และนิ้วเท้า
อาจจะติดเชื้อราจากบริเวณผิวหนัง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้เชื้อลามมายังเล็บได้
มีโรคประจำตัว เช่น สะเก็ดเงิน เบาหวาน และเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
เล็บที่เป็นเชื้อรา จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา
เล็บหนาขึ้น ผิดรูปทรง
เล็บจะเกิดการเปลี่ยนสี เช่น เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขาว ดำ และสีซีดจาง
มีรอยร้าว เปราะ แตกหักง่าย และมีขุยใต้เล็บ
รู้สึกเจ็บบริเวณเล็บที่ติดเชื้อขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
สามารถติดต่อกันได้ ผ่านการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อปะปนอยู่ เชื้อราจะอยู่ในที่ชื้น อุ่น และมืด ถ้าผู้ป่วยเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้เชื้อรายังสามารถแพร่ไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โรคกลาก
แพทย์จะนำตัวอย่างของเล็บ ส่งไปเพาะเชื้อ และตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนั้นแพทย์อาจจะขูดเศษเนื้อเยื่อใต้เล็บ เพื่อนำไปตรวจสอบหาชนิดของเชื้อรา และหาวิธีรักษาต่อไป
ใช้กรรไกรตัดเล็บที่ติดเชื้อรา
รักษาโดยการใช้ยาเม็ดป้องกันเชื้อรา น้ำยาเคลือบเล็บชนิดป้องกันเชื้อรา ขี้ผึ้ง ครีม
การรักษาด้วยเลเซอร์ ร่วมกับการใช้ยา
การถอดเล็บ โดยจะรักษาควบคู่กับการให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านเชื้อรา
การผ่าตัด สำหรับกรณีที่รุนแรงมาก โดยแพทย์จะผ่าตัด เพื่อนำเล็บออก
รักษาความสะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้งหลังล้างมือ และเท้า
ตัดเล็บให้สั้นเป็นแนวตรง ไม่ควรตัดบริเวณรอบเล็บ
หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า ในบริเวณพื้นที่สาธารณะ
ไม่ควรสวมใส่รองเท้าที่คับ หรือแน่นเกินไป ให้เลือกขนาดที่พอดีกับเท้า
ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บทุกครั้งก่อนใช้งาน
เชื่อว่าหลายท่านที่ได้อ่านบทความนี้ น่าจะเริ่มสังเกตเล็บของตนเองกันแล้ว อยากให้ทุกท่านระมัดระวัง และหมั่นดูแลความสะอาดเล็บสม่ำเสมอ หากท่านใดที่เล็บเป็นเชื้อรา ให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อจะได้รักษา และรับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลเล็บจากแพทย์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง