ตัดถุงน้ำดี หากร่างกายไม่มีจะเป็นเช่นไร
ตัดถุงน้ำดี หากร่างกายไม่มีจะเป็นเช่นไร

ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะที่กักเก็บน้ำดีจากการผลิตของตับ และมีท่อเพื่อส่งไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น โดยถูกกระตุ้นเมื่อสิ่งที่รับประทานเข้าไปลงสู่กระเพาะอาหาร จะย่อยให้ไขมันแตกตัว ในการผ่าตัดอวัยวะนี้ มักเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี ที่มีของเหลวตกค้างในนั้น อาจเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค เกิดอุดตัน อักเสบ ปวดจุกบริเวณชายโครงขวา มักจะมาจากผู้ที่มีภาวะอ้วน เบาหวาน รับประทานอาหารไขมันสูง  รวมทั้งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำอีกด้วย

 

 

ทำไมต้องผ่าตัดถุงน้ำดี

 

  • ก้อนเนื้อเกิดขึ้นในถุงน้ำดี

 

  • ผนังถุงน้ำดีมีเซลล์เนื้อเยื่อหลายชั้น หากเกิดความผิดปกติควรรีบรักษา เพราะอาจะกลายเป็นมะเร็งเนื้อร้ายได้ในอนาคต

 

อาการความผิดปกติจากนิ่วในถุงน้ำดี ได้แก่

 

  • ท้องอืด

 

  • เป็นไข้

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • แน่นท้องหลังจากรับประทานไขมัน

 

  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวา

 

  • ตามร่างกายและดวงตาเหลือง คล้ายดีซ่าน

 

 

เป็นนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

ผ่าตัดถุงน้ำดีแล้วจะเป็นอย่างไร

 

  • สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าจะไม่มีการกักเก็บน้ำดีที่ผลิตโดยตับไว้ จะลงไปยังกระเพาะ ลำไส้ทันที อีกทั้งประสิทธิภาพในการย่อยไขมันจะลดลง ระยะแรกหลังผ่าตัดอาจจะมีอาการท้องอืด เฟ้อ เล็กน้อย จากนั้นร่างกายจะปรับตัวกับสภาพนี้ได้ ซึ่งท่อน้ำดีจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อตับผลิตน้ำดีก็อาจจะมาพักที่นี่มากขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารใกล้เคียงกับบุคคลปกติ

 

 

ผ่าตัดผ่านกล้อง

 

 

การผ่าตัดถุงน้ำดี

 

ผ่าตัดส่องกล้องผ่านผนังหน้าท้อง

 

  • หลังจากดมยาสลบแล้ว แพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้อง 4 ตำแหน่ง ขนาด 0.5 - 1 ซม. สอดใส่เครื่องมือผ่าตัด และกล้องขยาย รวมทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้อง และทำหัตถการนำถุงน้ำดีออกมาแล้วทำการเย็บปิดแผล

 

ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

 

  • แพทย์จะใช้มีดกรีดบริเวณหน้าท้องชายโครงด้านขวา ตัดเปิดกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งแล้วนำถุงน้ำดีออกมา หลังจากนั้นจะเย็บปิดปากแผล เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกหรือมะเร็งขนาดใหญ่ หรือการอักเสบซ้ำ  มีพังผืดใต้สะดือมากจนส่งผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง

 

 

แผลผ่าตัด

 

 

ข้อดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

  • พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน

 

  • เจ็บ ปวด แผลน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

 

  • ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ สามารถกลับไปดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

 

  • แผลมีขนาดเล็ก ดูแลง่าย

 

  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือเกิดพังผืดน้อย

 

 

ปวดไหล่ขวา

 

 

เตรียมตัวก่อนผ่าตัด

 

  • งดน้ำและอาหารก่อนหัตถการประมาณ 6 ชั่วโมง

 

  • อาบน้ำชำระร่างกาย สระผม ให้สะอาด

 

  • อาจมีการตรวจร่างกายเบื้องต้น ก่อนดมยาสลบ

 

 

หมูกระทะ

 

 

ข้อปฏิบัติหลังผ่าตัด

 

  • เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการพลิก ตะแคงด้านข้าง เพื่อป้องกันพังผืดในช่องท้อง

 

  • หายใจเข้าออกลึกๆ

 

  • ใช้ผ้าปิดแผลชนิดกันน้ำได้

 

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

 

  • งดออกเดินทางไปยังที่ระยะไกล

 

 

ผลไม้

 

 

ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดถุงน้ำดี

 

  • ปวดบริเวณหัวไหล่ขวา

 

  • เนื่องจากระคายเคืองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นส่วนประกอบในหัตถการของแพทย์

 

  • ปัญหาที่แผล

 

  • มีโลหิตหรือน้ำเหลืองตามบริเวณนั้น

 

  • เกิดรอยเขียวช้ำ

 

  • อวัยวะข้างเคียงได้รับการบาดเจ็บ

 

  • ท้องอืด แน่นท้อง

 

 

อดอาหารก่อนผ่าตัด

 

 

ผ่าตัดถุงน้ำดีห้ามกินอะไร

 

  • เนื้อสัตว์ติดมันหรือบริเวณส่วนหนัง

 

  • นม

 

  • เนย

 

  • อาหารที่น้ำมันเยอะ

 

  • ซอสมายองเนส

 

  • เบเกอรี่

 

  • เส้นก๋วยเตี๋ยวผัด

 

  • วิปปิ้งครีม

 

  • เมนูที่ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบหลัก

 

  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม

 

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ น้ำอัดลม

 

 

ห้ามยกของหนัก

 

 

ผ่าตัดถุงน้ำดีอาหารที่ควรรับประทาน

 

  • เนื้อปลา

 

  • เส้นหมี่

 

  • ข้าวกล้อง

 

  • ธัญพืชไม่ขัดสี

 

  • นมปังโฮลวีท

 

  • เมนูที่ใช้น้ำมันน้อย โดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ต้ม ยำ นึ่ง

 

  • ผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง

 

  • ถั่ว

 

 

หากอยู่ในขณะพักฟื้นหรือกลับมายังที่อยู่อาศัยของตนเองแล้ว มีความผิดปกติ เช่น แผลปริ เลือดซึม บวม แดง ปวดท้อง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบแจ้งหรือพบแพทย์ทันที เพื่อที่อาจวินิจฉัยในการเข้ารับผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องอย่างเร่งด่วน เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

 

FAQ โปรแกรมผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

 

นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร รักษาอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร?

 

 

รักษานิ่วในถุงน้ำดีด้วยสมุนไพรได้หรือไม่

 

 

รับประทานอาหารอย่างไร ให้ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

อาหารที่เสี่ยงเป็นนิ่ว และทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

 

 

ถุงน้ำดีอักเสบ หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

 

 

ผ่าตัดนิ่ว พักฟื้นอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย

 

 

การผ่าตัด กับการรักษานิ่วในถุงน้ำดี