กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) คือ การที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นกรดหรือแก๊ส ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร จนหลอดอาหารเกิดการอักเสบ ส่งผลให้รู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ หลังรับประทานอาหาร
การบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ ส่งผลให้มีอาหารติดค้างในกระเพาะนานกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีไขมันสูง จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ ส่งผลให้อาหารที่รับประทานเข้าสู่กระเพาะช้า อาหารจึงค้างอยู่ที่หลอดอาหาร
หูรูดส่วนปลายหลอดอาหารผิดปกติ ส่งผลให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้ผนังของหลอดอาหารเกิดความระคายเคือง
แสบร้อนกลางอกบริเวณลิ้นปี่ หลังจากรับประทานอาหาร
เรอเปรี้ยว ขมปาก หรือขมคอ
ท้องอืด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย
คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
ไอ คอแห้ง เสียงแหบ
รู้สึกมีก้อนในลำคอ
หายใจหอบหืด
รู้สึกระคายคอหรือมีเสมหะอยู่ในคอตลอดเวลา
มีน้ำลายมาก เกิดกลิ่นปาก รู้สึกเสียวฟันหรือมีฟันผุ
หลอดอาหารตีบ
ผู้ป่วยบางรายที่เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง แผลเป็นที่เกิดจากการอักเสบ อาจทำให้หลอดอาหารตีบแคบลง และรบกวนการลำเลียงอาหารไปยังกระเพาะ
หลอดอาหารอักเสบ
การอักเสบหรือระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหาร ที่เกิดจากการกัดของกรดไหลย้อน หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาว อาจเสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงจนอาจเป็นแผลเลือดออกได้
เยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนสภาพ
เกิดจากเซลล์เยื่อบุอาหารมีการเปลี่ยนสภาพเพื่อรองรับการกัดของกรดไหลย้อน มีโอกาสเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน เซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอาจผิดปกติ และอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
มะเร็งหลอดอาหาร
มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งชนิดต่อมที่บริเวณหลอดอาหารส่วนล่างกับมะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ที่บริเวณหลอดอาหารส่วนกลางและบน
มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจัดมากเกินไป แล้วมีการนอนทันที
น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาในกลุ่มโรคหอบหืด เป็นต้น
ซักถามประวัติ อาการ และตรวจร่างกายทั่วไป
ตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร
การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง
ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร
เบื้องต้นผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต
การรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) และอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide) ซึ่งมีความเป็นด่าง สามารถลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือไซเมธิโคน (Simethicone) ที่ช่วยขับลม ลดการจุกเสียด แน่นท้อง
การส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อตรวจกระเพาะอาหาร ทำให้เห็นแผลในหลอดอาหารส่วนปลาย และการอักเสบจากโรคกรดไหลย้อน
การผ่าตัด
เบื้องต้นเวลานอน ให้จัดท่าทางโดยการยกศีรษะสูงขึ้น 15 ซม.
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด และการสูบบุหรี่
ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้อาหารย่อยอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงค่อยเข้านอน
ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป และรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้พออิ่ม
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
กรดไหลย้อน หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจนำไปสู่การเกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้น หากมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว ขมคอ ควรมาทำการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนเรื้อรังในอนาคต
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ
โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
รับประทานอาหารอิ่มเร็ว สัญญาณความผิดปกติจากระบบย่อยอาหาร
รับประทานอิ่มแล้วนอน สบายตอนนี้ปัญหาสุขภาพมาเยือนในอนาคต