การตั้งครรภ์ เป็นเรื่องธรรมชาติของสตรีทุกคน และการดูแลทารกน้อยในครรภ์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จึงควรใส่ใจในทุกรายละเอียดมาก ๆ เพราะการตั้งครรภ์อาจมีภาวะเสี่ยง ที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ หรือที่เรียกว่า ครรภ์เสี่ยง (High-Risk Pregnancy)
เคยมีประวัติการตั้งครรภ์หลายครั้ง และมีการแท้งบุตร 2 ครั้งขึ้นไป
อายุของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อาจจะมาก หรือน้อยเกิน
เคยมีประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อน
เมื่อครรภ์ที่แล้ว อาจจะเคยคลอดก่อน และหลังกำหนด
มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจ เป็นต้น
ไข้ขึ้นสูงมากกว่า 38 องศา
คลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง
หน้ามืด เวียนศีรษะ
มีอาการอ่อนเพลีย ปัสสาวะแสบ
หายใจลำบาก จุกแน่นใต้ลิ้นปี่
ครรภ์เป็นพิษ
โลหิตจาง
พัฒนาการของเด็กที่ไม่สมบูรณ์
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์
การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมบางชนิด
การตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำ และตัดชิ้นรกไปตรวจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เมื่ออายุครรภ์ครบ 5-6 เดือนแล้ว ทารกยังไม่ดิ้น
ขนาดของท้องเล็ก หรือใหญ่กว่าปกติ
มีเลือดออกทางช่องคลอด
มีอาการปวดศีรษะบ่อยผิดปกติ และจุกเสียดแน่นท้อง
เข้าพบสูตินรีแพทย์เสมอ เพื่อติดตามอาการ และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ควรเช็ค และควบคุมโรคประจำตัว เช่น ตรวจความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
การนับลูกดิ้น เพื่อเช็คความผิดปกติ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
วางแผน และตรวจสภาพร่างกายก่อนมีบุตร
เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อฝากครรภ์ และแจ้งประวัติ หรือโรคประจำตัวให้แพทย์อย่างละเอียด
หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ควบคุมน้ำหนัก และน้ำตาลในร่างกาย ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
งดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด
ครรภ์เสี่ยง เป็นภาวะที่มีความอันตรายอย่างมากต่อคุณแม่ทุกท่าน เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่อย่างเดียว แต่ถึงทารกในครรภ์ด้วย หากท่านใดที่รู้ตนเองว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ เพราะเป็นการป้องกัน และลดโอกาสการเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นในอนาคต
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง