ไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าละเลยเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

 

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทโรซีน และไอโอโดไทโรนินออกมามากจนเกินไป ระบบเผาผลาญจึงทำงานผิดปกติ โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในหลายระบบในร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก หากรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

 

สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ เมื่อฮอร์โมนจากไทรอยด์ผลิตมากจนเกิดการรั่วไหลในกระแสโลหิต ปกติแล้วมักจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด นอกจากแบบกึ่งเฉียบพลัน

 

  • มีก้อนที่บริเวณต่อมไทรอยด์ จะพบมากในผู้สูงอายุ เป็นก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตบนต่อมไทรอยด์ โดยก้อนนี้มักเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์มีการทำงานหนัก

 

  • โรคเกรฟส์ (Graves' Disease) เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่หลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติ มักจะเกิดกับสตรีในช่วงวัยรุ่น ถึงวัยกลางคน และผู้สูบบุหรี่

 

  • การได้รับยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน เช่น ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

  • รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไป

 

 

อาการไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • คอพอก, มีก้อนที่บริเวณคอ

 

  • ท้องเสีย, น้ำหนักลดลง

 

 

อารมณ์แปรปรวน

 

 

  • อารมณ์แปรปรวน, มือสั่น, หงุดหงิดง่าย

 

  • ใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ

 

  • ตาโปน, เห็นภาพซ้อน

 

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • มีปัญหาภาวะกระดูกเปราะบาง เพราะร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จนทำให้การดูดซึมแคลเซียมของกระดูกผิดปกติ ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา

 

  • หัวใจ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจวาย, หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ทำให้เลือดไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง

 

 

ตาแดง

 

 

  • สายตา เช่น ตาแดง, แห้ง, แฉะ, ไวต่อแสง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์โดยมีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • ภาวะไทรอยด์ต่ำ เนื่องจากการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ

 

  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษเข้าขั้นวิกฤต สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ความเสียหายของต่อมไทรอยด์, การติดเชื้อ, การตั้งครรภ์ เป็นต้น โดยภาวะนี้นับว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

 

 

การวินิจฉัยไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • แพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย เพื่อหาสัญญาณของไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • การตรวจเลือด

 

  • การเอกซเรย์, ตรวจอัลตราซาวด์, การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-SCAN)

 

  • ตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)

 

  • วัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์และการทำงานของต่อมใต้สมอง

 

  • ตรวจระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์

 

 

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • รับประทานยาต้านไทรอยด์ เช่น ยาเมไทมาโซล, ยาโพรพิลไทโอยูราซิล เป็นต้น

 

  • รับประทานสารไอโอดีนรังสี โดยวิธีการรักษาด้วยนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

 

  • ใช้ยาต้านเบต้า เพื่อบรรเทาอาการใจสั่นหรือลดอัตราการเต้นของหัวใจ

 

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) ในกรณีสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือไอโอดีนรังสีได้ เช่น ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ อีกทั้งหลังผ่าตัดจะต้องรับประทานยาควบคุมระดับฮอร์โมนไปตลอดชีวิต

 

 

การป้องกันโรคไทรอยด์เป็นพิษ

 

  • สังเกตความผิดปกติของร่างกาย

 

 

ไม่สูบบุหรี่

 

 

  • ไม่สูบบุหรี่

 

  • หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

 

  • หากผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ จำเป็นจะต้องมีการติดตามผลในระยะยาวด้วยวิธีการตรวจเลือด เพื่อป้องกันการเกิดไทรอยด์เป็นพิษซ้ำอีก

 

 

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

 

เมนูที่ผู้ป่วยควรรับประทาน

 

  • เมนูธาตุเหล็ก เช่น ซีเรียล, ลูกเกด, ถั่วขาวหรือดำ และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น

 

  • เมนูที่มีไอโอดีนต่ำ เช่น ไข่ดาว, สมุนไพร, ผักและผลไม้, เนื้อไก่, เนื้อวัว 

 

  • เมนูที่มีซิลีเนียม เช่น ผักปวยเล้ง, แฮม, ทูน่า, คอตเทจชีส

 

 

ไอศกรีม

 

 

  • เมนูที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น นม, ชีส, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, น้ำส้ม เป็นต้น

 

  • เมนูผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี, กะหล่ำดาว, บรอกโคลี,คะน้า, ผักใบเขียว 

 

 

เมนูที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง

 

  • อาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง

 

  • อาหารที่มีกลูเตน เช่น ข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ เป็นต้น

 

  • อาหารทะเล เพราะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับไอโอดีนรังสี

 

 

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่หยุดรับประทานยาโดยพลการ เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะไม่หายขาดแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้ อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะระบบหัวใจที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย บุคคลทั่วไปสามารถตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้นได้ เพียงสังเกตและใช้นิ้วสัมผัสบริเวณลำคอ หากมีก้อนและอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที ห้ามปล่อยทิ้งให้หายเองตามธรรมชาติเด็ดขาด



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์

 

ต่อมไทรอยด์ ต่อมแห่งการควบคุม

 

เมื่อร่างกายทำงานช้าลง อาจเป็นอาการของไฮโปไทรอยด์