โรคเมลิออยด์, เมลิออยโดสิส (melioidosis) เป็นโรคที่หน้าฝนควรต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ร่างกาย ต้องสัมผัสกับน้ำ และดินตลอด
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งพบในน้ำ และดิน โรคชนิดนี้อาจจะแพร่จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ภายในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิด ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อ
ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บหน้าอก
เกิดบาดแผลตามเท้า
มีอาการปวดท้อง
เกิดหนอง หรือฝีขึ้นตามร่างกาย
ระยะฟักตัวในผู้ป่วยที่เกิดอาการเฉียบพลัน จะมีระยะเวลา 1-21 วัน แต่มักจะพบอาการโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 วัน
ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร
ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยโรคปอด
ผู้ป่วยโรคตับ และไต
ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
วินิจฉัยโดยการตรวจสารคัดหลั่ง เช่น ปัสสาวะ แผลที่ผิวหนัง หรือเสมหะของผู้ป่วย และการเพาะเชื้อจากเลือดของผู้ป่วย ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ห้องปฏิบัติการ จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเลือด เพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อ และสารก่อภูมิต้านทาน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ฝีในสมอง ตับ และม้าม
ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้
แพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์แรก จากนั้นให้รับประทานยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลา 3 เดือน ถ้าหากผู้ป่วยติดเชื้อ แล้วมีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์
หลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำดิน หรือลุยน้ำ ในช่วงฤดูฝน
หากต้องเดินลุยน้ำ หรือสัมผัสดิน ให้สวมถุงมือยาง และรองเท้าบูทเสมอ
กรณีที่มีบาดแผล ควรรีบทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และยาฆ่าเชื้อทันที
ควรทำความสะอาดร่างกาย หลังจากที่มีการสัมผัสน้ำ และดินมา
ดื่มน้ำ และรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก และไม่มีสารปนเปื้อน
เมื่อถึงฤดูฝน ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ควรป้องกัน และระมัดระวังตนเองให้ดี โดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เมื่อต้องมีการสัมผัสดิน หรือน้ำ ผู้ป่วยท่านใดที่มีอาการเข้าข่าย หรือคล้ายว่าจะเป็นโรคเมลิออยด์ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จนอาจนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง