กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) เป็นอาการ หรือภาวะที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก จึงทำให้เกิดการอักเสบ โดยอาจจะเกิดขึ้นในระยะสั้น หรืออาจจะพัฒนากลายเป็นเรื้อรังในอนาคตได้
กล้ามเนื้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน
การติดเชื้อ เช่น โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่
การเล่นกีฬาที่มีการใช้แรง การเข้าปะทะ และการกระแทก เช่น ฟุตบอล ว่ายน้ำ เทนนิส เป็นต้น
การออกกำลังกาย หรือยกของหนักเกินไป
การใช้ยารักษาโรคบางประเภท เช่น ยาโคลชิซิน ยาลดไขมันในเลือด และยาไฮดรอกซีคลอโรควิน เป็นต้น
บางรายอาจมีอาการปวด ร่วมกับอาการชา
ปวดร้าวตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ
ระดับของการปวดมีได้ตั้งแต่ ล้า เมื่อย อาจไปถึงปวดจนทรมานแบบไม่สามารถขยับร่างกายส่วนที่ปวดได้
มีการจำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณกล้ามเนื้อที่อักเสบ
หากอักเสบมากขึ้น อาจจะมีอาการบวม แดง และร้อน
กล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว
ออฟฟิศซินโดรม
การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
คือ การสอดขั้วกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเข็มเล็ก ๆ จิ้มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ การตรวจประเภทนี้ จะช่วยหากล้ามเนื้อที่ถูกทำลาย หรืออ่อนแอ จากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ
MRI Scan
การตรวจ MRI เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง เพื่อดูโครงสร้างของเนื้อเยื่อ ไปจนถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่มีการอักเสบ ฉีกขาด หรือบาดเจ็บ เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำ และความปลอดภัยสูง
การเอกซเรย์
เป็นการตรวจเพิ่มเติม จากกรณีที่แพทย์เกิดความสงสัยเกี่ยวกับภาวะ หรือสาเหตุต่าง ๆ เป็นการตรวจที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน รวมถึงสามารถบอกระยะของโรคที่เป็นอยู่ และทำให้แพทย์วางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยได้
เก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อ
แพทย์จะหากล้ามเนื้อบริเวณที่อ่อนแอ แล้วทำการผ่าตัด จากนั้นจะส่งต่อไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุการบาดเจ็บ หรืออักเสบ แต่วิธีนี้เป็นการวินิจฉัยที่ทำได้ยาก และต้องตรวจสอบกล้ามเนื้ออย่างละเอียด
รักษาโดยการใช้ และรับประทานยาแก้อักเสบ หรือคลายกล้ามเนื้อ (ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์)
ประคบร้อนบริเวณที่เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ
ทำกายภาพบำบัด
หากไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด หากปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ไม่ควรฉีดสารทุกชนิดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือด หากจำเป็นต้องฉีดยารักษาโรคจริง ๆ ควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด
ฉีดวัคซีนป้องไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะไข้หวัดใหญ่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้
หากจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลข้างเคียง ที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ควรใช้ในปริมาณที่แพทย์แนะนำ
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ที่อาจส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ
ไม่ออกกำลังกายหักโหม ควรออกแต่พอดี
กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับนักกีฬา ประเภทที่มีการเข้าปะทะระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง การออกกำลังกาย หรือบุคคลที่ต้องทำงานยกของหนักเป็นประจำ ซึ่งกล้ามเนื้ออักเสบถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เพราะอาจส่งผลให้ท่านเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขึ้นได้ หากท่านมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำ และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ จากนั้นแพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับท่าน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) มัจจุราชไร้เงาที่เราต้องระวัง