ข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อม โรคที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพียงวัยเดียว

 

ข้อเข่า ถือว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ประกอบกับภาระหน้าที่อันใหญ่หลวง ในการรองรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว และการทรงตัว หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับข้อเข่า ใช่ว่าจะสร้างปัญหาความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราเปลี่ยนแปลงไปด้วย หลายคนอาจจะคิดว่าโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นปัญหาของคนแก่ แม้คุณจะยังไม่แก่ แต่แน่ใจแล้วหรือว่าตัวเองจะไม่เป็นโรคนี้

 

 

ทำความรู้จักกับข้อเข่าเสื่อม

 

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าวัยทำงาน และวัยกลางคน มีแนวโน้มเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากกระดูกผิวอ่อนของข้อเข่าสึกหรอ, มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป หรือเสื่อมสภาพลง หากไม่ได้รับการรักษา และผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง จะทำให้โรคนี้สะสมไปเรื่อย ๆ จนส่งผลให้ข้อเข่าผิดรูป และมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในที่สุด

 

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ดังนี้

 

  • อายุ ผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคนี้มากที่สุด มักจะเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพราะปัญหาข้อเข่าเสื่อมมักจะถูกสะสมมาเป็นเวลานาน

 

 

ยกของหนัก

 

 

  • พฤติกรรมการออกแรง หรือการใช้งานเข่ามากเกินไป เช่น การนั่งพับเพียบ, การนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน, การยกของหนัก และนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

 

  • อุบัติเหตุ ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด, ข้อเข่าหลุด และกระดูกบริเวณเข่าหัก เป็นต้น

 

 

 

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

 

 

อาการในระยะเริ่มแรก

 

 

เจ็บปวดหัวเข่าเมื่อขึ้นลงบันได

 

 

ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหว เช่น การเดินขึ้น-ลงบันได หรือการนั่ง เป็นต้น และมักจะได้ยินเสียงลั่นในข้อ

 

 

อาการรุนแรง 

 

หากผู้ป่วยเริ่มรับรู้ได้ถึงอาการบวมร้อนของข้อ หรือรู้สึกเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้ข้อเข่าผิดรูป, เหยียด หรืองอเข่าไม่ได้ ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้ไม่ถนัด

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากข้อเข่าเสื่อม

 

  • อาจเกิดอาการทางกระดูก และกล้ามเนื้อได้ เช่น ภาวะกระดูกตาย 

 

  • เกิดความผิดปกติบริเวณข้อ เช่น เลือดออก, ติดเชื้อ เป็นต้น

 

  • นอกจากนี้ยังสามารถเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้ เช่น อาการติดเชื้อหลังการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย

 

 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

 

 

การรักษาแบบเบื้องต้น 

 

ให้ออกกำลังกายที่ไม่ใช้ข้อเข่ามากจนเกินไป เช่น ว่ายน้ำ, เดิน เป็นต้น ให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับรักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน และหลีกเลี่ยงการใช้สเตียรอยด์

 

 

การรักษาด้วยยา 

 

ได้แก่ ยาที่มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดเข่า เช่น สเตียรอยด์, ยาอะเซตามิโนเฟน เป็นต้น แต่หากใช้นานเกินไปอาจมีผลข้างเคียงตามมา หรือการทานอาหารเสริม แต่กรณีเลือกทานอาหารเสริม ควรตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อน นอกจากนี้ยังใช้วิธีการฉีดยาได้ด้วย เช่น กรดไฮยาลูโรนิก ที่มีคุณสมบัติช่วยให้สามารถขยับเข่าได้มากขึ้น

 

 

การรักษาด้วยการผ่าตัด 

 

การผ่าตัดข้อเข่าซึ่งมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ ตัดให้ข้อเข่าชิดกัน, เปลี่ยนข้อเข่า และเปลี่ยนแนวกระดูก นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วย โดยการเลือกรูปแบบการผ่าตัด ต้องมาจากการปรึกษากับแพทย์เพื่อเลือกรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุด

 

 

การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ 

 

เช่น การฝังเข็ม ซึ่งระยะเวลาในการรักษา จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล วิธีการฝังเข็มอาจยังไม่สามารถรักษาข้อเข่าให้หายขาดได้ จึงจำเป็นต้องรักษาควบคู่ไปกับวิธีอื่นด้วย

 

 

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

 

 

การส่องกล้อง

 

แพทย์จะใช้วิธีการนี้ในผู้ป่วยรายที่ยังมีอาการไม่รุนแรงมากนัก เช่น รูปร่างขาของผู้ป่วยยังปกติ ไม่โก่ง, ไม่ล็อก, เวลางอเข่าแล้วเกิดติดขัดมาก เป็นต้น

 

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูก

 

เหมาะกับผู้ป่วยที่เข่ายังดี, ไม่โก่ง และลูกสะบ้ายังไม่มีการเสื่อมมาก โดยแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนด้านในของข้อเข่า

 

 

การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก

 

หากผู้ป่วยมีอาการขาโก่งเล็กน้อย แพทย์จะผ่าตัด, ปรับกระดูก และใส่เหล็กดาม เพื่อผ่อนแรงของข้อ เหมาะกับผู้ป่วยที่อายุน้อย และยังมีอาการเข่าที่ยังไม่เสื่อมมาก

 

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

 

แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการนี้ ในผู้ป่วยรายที่ต้องเปลี่ยนข้อกระดูกทั้งหมด โดยจะเป็นการนำข้อเข่าเทียมครอบกระดูกที่มีการเสื่อมไว้

 

 

หลังผ่าตัดสามารถทำกิจกรรมใดได้บ้าง

 

 

การเล่นกีฬา

 

ควรเล่นกีฬาเบา ๆ และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องมีการเข้าปะทะ โดยสามารถเริ่มทำกิจกรรมได้ หลังจากผ่าตัดเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เมื่อแผลมีการแห้งสนิทแล้ว สามารถทำกิจกรรมอื่นเพิ่มเติมได้ เช่น ว่ายน้ำ เป็นต้น

 

 

การขับรถ

 

 

ขับรถ

 

 

จะขับรถได้หลังจากผ่าตัดผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ข้อเข่าสามารถงอได้เป็นปกติ 

 

 

การทำงาน

 

ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ผู้ป่วยทำ ถ้าเป็นงานที่หนัก และจำเป็นต้องใช้ข้อเข่า ควรรอประมาณ 3 เดือน หากเป็นงานเบา ไม่ต้องใช้แรงเยอะ อาจกลับไปทำได้ภายใน 6 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด

 

 

การขึ้นลงบันได

 

หากเป็นการเดินขึ้น ให้ใช้ขาข้างที่เป็นปกติก้าวขึ้นก่อน แต่ถ้าเวลาลง ควรนำขาข้างที่ผ่าตัดก้าวลงก่อน หากผู้ป่วยมีการใช้ไม้ค้ำให้ระวังการล้มด้วย 

 

 

การป้องกันเข่าเสื่อม

 

 

ควบคุมน้ำหนักตามมาตรฐาน

 

 

การป้องกันเบื้องต้น คือ การดูแลตัวเองให้มากขึ้น เช่น ออกกำลังกาย, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, ควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เช่น เมื่อมีอาการปวด สามารถประคบร้อน และเย็น รวมถึงทาครีม หรือเจลเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ ยิ่งเราดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะส่งผลให้เรามีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระดูกน้อยลงในอนาคต เนื่องจากปัญหาข้อเข่าเหล่านี้มีโอกาสเกิดมากขึ้นตามอายุด้วย

 

 

ข้อเข่าเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างมาก หากเกิดความผิดปกติ และปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในอนาคต ยิ่งอายุเยอะจะยิ่งส่งผลมากขึ้น หากมีผู้ป่วยท่านใดที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย รักษา และรับคำแนะนำในการดูแลข้อเข่าจากแพทย์



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)

 

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

เข่าบวม สัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม