ร่างกายของมนุษย์ มีหลากหลายโรค และอาการ ที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น จนส่งผลต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งภาวะขากระตุกขณะหลับเป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจของใครหลายคนเช่นกัน พอกำลังจะเคลิ้มหลับ กลับต้องสะดุ้งตื่น ถ้าหากปล่อยไว้แบบนี้เรื่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย และคุณภาพของการนอนได้
ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ และยาบางประเภทที่ใช้รักษาโรคทางจิตเภท
โรค หรืออาการที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, โรคลมหลับ และโรคขาอยู่ไม่สุข เป็นต้น
โรคทางพันธุกรรม และพัฒนาการทางร่างกาย เช่น กลุ่มอาการวิลเลียม, โรคสมาธิสั้น
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคโลหิตจางเพราะขาดธาตุเหล็ก, ร่างกายขาดวิตามินดี และวิตามินบี 12
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการนอน เช่น การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือความเครียดจากชีวิตประจำวัน
มีอาการขากระตุกเป็นพัก ๆ ขณะนอนหลับ เกิดได้ทั้งขาข้างเดียว และสองข้าง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ
หากมีอาการ จะเกิดการกระตุกเป็นจังหวะซ้ำ ๆ ประมาณ 20-40 วินาที ซึ่งระยะเวลาของอาการจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย
ความรุนแรงมีตั้งแต่ระดับกระดิกเบา ๆ ที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ไปจนถึงเกิดการสะบัดอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนบ่อยครั้ง ส่งผลต่อคุณภาพการนอน ที่อาจทำให้เกิดการง่วงซึมในตอนเช้าได้
ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เกิดอารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดง่าย
แพทย์จะซักถามประวัติของผู้ป่วยถึงโรคประจำตัว, พฤติกรรมการใช้ชีวิต, ยาที่รับประทาน อาจรวมถึงการตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยแพทย์อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
การตรวจเลือด เพื่อตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็ก และจำนวนฮีโมโกลบินภายในเม็ดเลือดแดง ว่ามีความผิดปกติหรือไม่
การตรวจปัสสาวะ แพทย์อาจจะใช้วิธีนี้ เพื่อหาร่องรอย หรือประวัติการใช้ยา หรือสารบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้น
การตรวจหาโรคที่เกี่ยวข้องกับการบกพร่องของเมตาบอริซึม
การตรวจด้วย Polysomnogram คือการตรวจการนอนหลับ โดยการบันทึกคลื่นสมอง, อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับออกซิเจนในเลือด อาจรวมถึงกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ
บริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และกรดโฟลิคให้มากขึ้น
งดเครื่องดื่มจำพวกที่มีส่วนประกอบคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การใช้ยารักษา เช่น ยาในกลุ่มที่ใช้รักษาโรคลมชัก, ยากลุ่ม Dopamine Agonist เป็นต้น ซึ่งการใช้ยาจะทำให้อาการดีขึ้น แต่ผู้ป่วยควรรับประทานยาต่อเนื่อง และภายใต้การกำกับของแพทย์ด้วย
งดออกกำลังกายที่ใช้พลังงานมากเกินไป
ผู้ป่วยสามารถป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ขึ้น เช่น การสังเกตตนเอง ถ้าหากมีอาการผิดปกติ ให้เข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยด้วยว่าจะสามารถปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้มากน้อยเพียงใด
ภาวะขากระตุกขณะหลับ เป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจของหลาย ๆ ท่านที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ณ ขณะนี้ แน่นอนว่าถ้าหากปล่อยให้ภาวะนี้เกิดขึ้นกับร่างกายบ่อย ๆ จะส่งผลต่อคุณภาพการนอน และร่างกายในที่สุด หากท่านพบเจอปัญหาเกี่ยวกับภาวะขากระตุกขณะหลับ หรืออาการที่ส่งผลต่อการนอนหลับของท่าน ให้เข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยอาการ และรักษา ให้การนอนหลับของคุณกลับมาเป็นปกติ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง