ขับถ่ายเป็นเลือด
ขับถ่ายเป็นเลือด ที่อาจไม่ใช่ริดสีดวงเพียงอย่างเดียว

ขับถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) คือ ความผิดปกติในอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร ที่ขับถ่ายออกมาเป็นโลหิตสีแดงสด หรืออุจจาระเป็นสีดำคล้ำ น้ำตาลเข้ม ซึ่งไม่ได้มาจากโรคริดสีดวงเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะไม่มีอาการเจ็บทวารหนักก็ได้ จะเห็นได้ถึงลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการมีเลือดออกมาจากอวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยอาหาร ซึ่งไม่สามารถตรวจพบเองด้วยตาเปล่า จะต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย

 

 

ขับถ่ายเป็นเลือดเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

 

ลำไส้ใหญ่อักเสบ

 

  • พฤติกรรมของผู้ป่วยรวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดโรคนี้ได้ เนื่องจากติดเชื้อบางชนิด มักจะมีอาการร่วม เช่น ปวดท้อง ถ่ายเหลว มีไข้

 

เลือดออกในกระเพาะอาหาร

 

  • เริ่มจากอาเจียนออกมาเป็นเลือด หน้ามืด อ่อนเพลีย มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร

 

เลือดออกในลำไส้ใหญ่

 

  • ขับถ่ายออกมาเป็นเลือดสีแดงสด ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ

 

ลำไส้ขาดเลือด

 

  • เพราะว่าการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงผนังลำไส้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ปวดท้องแบบเกร็งอย่างรุนแรง ถึงขั้นหมดสติและติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

 

ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่

 

  • มักจะไม่มีอาการความผิดปกติ นอกจากสังเกตผิวของอุจจาระจะมีโลหิตเคลือบติดอยู่ หากปล่อยความผิดปกตินี้ทิ้งไว้ อาจกลายเป็นมะเร็งได้

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

  • โรคนี้มีอาการร่วม เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือภาวะซีด

 

 

ลำไส้อักเสบ

 

 

การวินิจฉัยขับถ่ายเป็นเลือด

 

ในขั้นแรกเมื่อมาพบแพทย์แล้วจะเริ่มทำการซักประวัติ อาการร่วมต่าง ๆ ลักษณะเลือดที่ปนมากับอุจจาระ รวมทั้งการรักษาในอดีต หลังจากนั้นจะทำการตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อหาภาวะความผิดปกติร่วมอื่น ๆ เช่น โลหิตจาง เป็นไข้ ก้อนในช่องท้อง เป็นต้น ต่อมาจะทำการตรวจอวัยวะในระบบทางเดินอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ได้แก่

 

การตรวจดูขอบทวารหนัก

 

  • เป็นการสังเกตแผลของโรคริดสีดวงทวาร หรืออาจมีการใช้นิ้วสวนเพื่อหาการเกิดเนื้องอก

 

การสวนแป้งแบเรียม

 

  • เป็นการตรวจทางรังสีหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ก่อนเอกซเรย์

 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

  • Colonoscopy เป็นการใช้กล้องโดยการสอดผ่านทวารหนัก แสดงออกมาเป็นภาพบนจอเพื่อหาความผิดปกติ

 

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

  • Gastroscopy เป็นการใช้กล้องหาความผิดปกติโดยการผ่านบริเวณปาก หลอดอาหาร ไปจนถึงกระเพาะ

 

 

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

 

 

การรักษาขับถ่ายเป็นเลือด

 

การใช้ยา

 

  • เช่น ยาปฏิชีวนะ เพื่อบรรเทาอาการจากเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

 

  • ยาต้านการอักเสบโดยเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่

 

ให้น้ำเกลือ

 

  • สำหรับผู้ที่สูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาจจะมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด

 

การผ่าตัด

 

  • สามารถทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องหรือผ่านกล้อง Gastroscope และ Colonoscope เพื่อนำเนื้องอก มะเร็ง เนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติออกมา

 

 

ยาปฏิชีวนะ

 

 

การป้องกันขับถ่ายเป็นเลือด

 

  • รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีกากใยสูง

 

  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

 

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและสูบบุหรี่

 

  • ไม่อั้นอุจจาระหรือแบ่งขณะขับถ่ายอย่างรุนแรงโดยเด็ดขาด

 

  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาโดยเฉพาะช่วงเช้า

 

  • ไม่ควรนั่งอยู่บนชักโครกเป็นเวลานาน

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • หลังขับถ่ายควรชำระล้างทวารหนักด้วยน้ำสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ

 

 

ดังนั้นหากขับถ่ายเป็นเลือดไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้ แม้ไม่มีอาการเจ็บบริเวณส่วนใดก็ตาม สำหรับท่านที่กังวลว่าอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารจะมีความผิดปกติ สามารถเข้ารับบริการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องความเจ็บปวดขณะทำการตรวจ เพราะจะใช้ยาสลบหรือยาชามาเป็นตัวช่วย ทั้งนี้ยังมีแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ หากมีความผิดปกติ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่  Line : @petcharavej

เพิ่มเพื่อน

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

 

ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร