แก้วหูทะลุ หรือ Ruptured Eardrum เป็นการติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลาง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่บางทีหูอาจจะมีอาการคัน ผู้ป่วยจึงนำไม้แคะหู หรือคอตตอนบัด แหย่เข้าไปภายในรูหู เพื่อบรรเทาอาการคัน ถ้าหากทำผิดวิธี หรือพลาดแคะ และปั่นแรงจนเกินไป อาจจะเสี่ยงทำให้เกิดแก้วหูทะลุได้
ไข้ขึ้นสูง ไม่สบาย คลื่นไส้ และอาเจียน
หลังจากบรรเทาอาการคันในหู แล้วรู้สึกปวด หรือเจ็บภายในหูทันที
ความสามารถในการได้ยินลดลง
มีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งอาจจะเป็นหนอง น้ำสีใส หรือเลือดปนออกมา
ถ้ามีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว
การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง
หูชั้นกลางอักเสบจากของเหลวที่คั่งอยู่ภายในหู
การใส่สิ่งของแปลกปลอมเข้าไปในภายในหู เช่น ก้านสำลี ไม้แคะหู เป็นต้น
หูได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แรงกระแทก และแรงดัน
อยู่ในสถานที่ หรือสถานการณ์ที่มีเสียงดังจนเกินไป
หากเกิดภาวะการฉีกขาด หรือทะลุ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ภายในหูได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ถ้าติดเชื้อรุนแรง อาจทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาต หรือบิดเบี้ยวได้ แต่กรณีการติดเชื้อรุนแรง ยังพบเจอได้ไม่บ่อย นอกจากนี้ภาวะการฉีกขาด หรือทะลุของหู สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นในได้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือส่งผลให้ความสามารถในการได้ยินบกพร่อง
ตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง เพื่อดูความสามารถในการได้ยินเสียงของผู้ป่วย ว่าปกติดีหรือไม่
ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง เพื่อดูการตอบสนองของแก้วหู
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างของเหลวที่ไหลออกมา แล้วส่งตรวจ หรือเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นแก้วหูทะลุ จะสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่อาจนานไปถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุ โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาผู้ป่วย ดังนี้
รักษาโดยการปิดเยื่อที่แก้วหู แพทย์จะใช้กระดาษเพื่อปิดรูหูบริเวณที่เกิดการฉีกขาด ซึ่งอาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งถึงจะหายสนิท
รักษาโดยการผ่าตัดปะแก้วหู แพทย์จะนำเนื้อเยื่อส่วนอื่นที่ใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อแก้วหู มาปิดที่บริเวณแก้วหูทะลุแทน
หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ
ไม่นำสิ่งแปลกปลอม หรือวัตถุใด ๆ แหย่เข้าไปภายในรูหู
หากมีไข้ หรืออาการปวดหู และความสามารถในการได้ยินลดลง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที
หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ควรใส่ที่ครอบหู เพื่อป้องกัน และลดเสียงที่ได้รับลง
แก้วหูทะลุ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของผู้ที่มีพฤติกรรมการบรรเทาอาการคันโดยการปั่น และแคะหู จริง ๆ แล้วขี้หูสามารถหลุดออกมาเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องแคะออกมาเลย หากท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายแก้วหูทะลุ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูตึง อาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ