เซ็บเดิร์ม หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันภายในชั้นผิวหนัง ถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งเซ็บเดิร์มเป็นโรคที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของโรค ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยโดยตรง
เชื้อราบนผิวหนัง
ระดับไขมันบนผิวหนังที่ถูกผลิตมากเกินไป
ปริมาณของฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงขึ้น
สภาพอากาศที่แห้ง เย็น และร้อนชื้น
ผิวหนังแดง คัน และลอกเป็นขุยสีขาวเหลือง หรือตกสะเก็ด
เกิดผมร่วงบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม
ในกรณีที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณเปลือกตา อาจทำให้เปลือกตาอักเสบได้
ผิวหนังบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม จะถูกปกคลุมด้วยความมัน
หากเป็นสิวอุดตัน จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก หัวปิด หรือเปิด อาจจะกลายเป็นตุ่มหนอง และตุ่มอักเสบได้
เด็กทารกแรกเกิด - 2 เดือน ส่วนมากจะเกิดผื่นที่บริเวณใบหน้า หรือศีรษะ และผู้ปกครองหลายท่านมักจะคิดว่าเป็นผื่นจากผ้าอ้อม
ช่วงวัยรุ่น อาจจะมีผื่นที่เกิดจากการสร้างต่อมไขมันขึ้นมา มักจะปรากฎบริเวณลำตัว และใบหน้า
ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 30 - 60 ปี ซึ่งจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
แพทย์อาจสอบถามอาการของผู้ป่วย จากนั้นจะตรวจลักษณะของผิวหนังบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม และขูดตัวอย่างเซลล์ผิวหนังบริเวณนั้น นำส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถแน่ใจได้ว่า ไม่ได้เกิดโรคอื่นที่อาจมีอาการคล้ายกัน เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย เป็นต้น
การรักษาด้วยตนเอง
รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม ด้วยการล้างสบู่ ควรหลีกเลี่ยงสบู่ที่มีฤทธิ์แรง
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ใช้ครีมบำรุงผิว และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
ไม่ควรเกาบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม เพราะอาจจะทำให้ระคายเคือง และติดเชื้อได้
สวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อเรียบลื่น เพื่อป้องกันการระคายเคือง
การรักษาโดยแพทย์
ใช้ครีม หรือเจลต้านแบคทีเรีย
ใช้แชมพูขจัดเชื้อรา แพทย์อาจจะแนะนำชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่าตามร้านขายยาทั่วไป
การให้ยาในกลุ่มแคลซินูริน เช่น อินฮิบิเตอร์เพื่อสำหรับให้ผู้ป่วยใช้ทา
บำบัดด้วยการฉายแสง ควบคู่กับยาซอราเลน
เซ็บเดิร์ม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยการให้ยาแก่ผู้ป่วย เพื่อควบคุมอาการ ถ้าหากทุเลาลง แล้วเซ็บเดิร์มเริ่มกลับมาอีกครั้ง เมื่อผู้ป่วยรู้ตัว สามารถทายาเพื่อควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นได้
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
สระผมด้วยแชมพูต้านเชื้อรา ทุก 1-2 สัปดาห์
เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีมาตรฐาน โดยดูค่า PH ที่เป็นกรดด่างไม่ให้มากเกินไป
ทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ และน้ำเปล่า จากนั้นเช็ดตัวให้แห้ง เพื่อป้องกันคราบมัน และเชื้อราบนผิวหนัง
ทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้
เซ็บเดิร์ม เป็นโรคทางผิวหนัง ที่หลายท่านน่าจะไม่คุ้นชื่อ แต่มีความอันตรายไม่แพ้กับโรคผิวหนังชนิดอื่นเลย ปัจจุบันเซ็บเดิร์มยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงประคับประคองตามอาการเท่านั้น หากท่านใดมีอาการเข้าข่าย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ เพื่อไม่ให้ลุกลามไปมากกว่าเดิม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง