ติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตจริงหรือ
ติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตจริงหรือ

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือ ภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ ที่ได้รุกล้ำเข้าไปในระบบไหลเวียนโลหิต ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา หรือจุลชีพต่าง ๆ จนอวัยวะภายในทั่วร่างกายล้มเหลว อักเสบ ช็อก หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์อย่างทันท่วงที มีความเสี่ยงเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต โอกาสรอดน้อย ซึ่งกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ทารก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในห้องไอซียู ได้รับเคมีบำบัด ใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

 

 

ติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากอะไร

 

ปัญหาสุขภาพ

 

  • เมื่อร่างกายอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำ จะไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรคที่เข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การติดเชื้อในระบบร่างกาย

 

  • ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ

 

  • ทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณไต

 

  • ระบบย่อยอาหาร

 

โรคประจำตัว ที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ไม่สามารถทำหน้าที่ในการป้องกันเชื้อโรคได้

 

  • เช่น เบาหวาน

 

  • ตับแข็ง

 

  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา

 

  • อาจมาจากการติดเชื้อโดยใส่สายหรือท่อสวนอวัยวะต่าง ๆ

 

 

ติดเชื้อ

 

 

อาการติดเชื้อในกระแสเลือด

 

อวัยวะที่ติดเชื้อ

 

  • เช่น ปอด จะไอ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจ

 

  • กรวยไต  มักจะปวดหลังและปัสสาวะบ่อย

 

ผิวหนังเกิดรอย

 

  • อาจเป็นตุ่มหนอง

 

  • ผื่น

 

  • แสบร้อน

 

  • บวม แดง

 

การตอบสนองต่อการอักเสบ

 

  • ได้แก่ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

 

  • ชีพจรเต้นสูงกว่า 90 ครั้งต่อ 1 นาที

 

  • หายใจถี่ 20 ครั้งขึ้นไป ต่อ 1 นาที

 

  • หนาวสั่น

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ซึม

 

  • อาเจียน

 

  • ท้องเสียรุนแรง

 

 

ผู้ป่วย

 

 

การวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือด

 

ในขั้นแพทย์แรกจะวินิจฉัยลักษณะและอาการของผู้ป่วย หลังจากนั้นจะตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

 

เจาะเลือด

 

เพื่อหาค่าต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงการทำงานของร่างกาย

 

  • เช่น ความสมบูรณ์เม็ดเลือด (CBC)

 

  • ค่าการทำงานตับ ไต

 

  • ค่าความสมดุลของกรดและด่างในเลือด

 

ตรวจเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน

 

  • ไม่ว่าจะเป็น บาดแผล

 

  • ปัสสาวะ

 

  • น้ำมูก

 

  • เสมหะ

 

ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์

 

เอกซเรย์

 

  • โดยเฉพาะบริเวณปอด

 

อัลตราซาวด์

 

  • เป็นการใช้คลื่นเสียงสร้างภาพออกมา มักจะใช้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อบริเวณรังไข่หรือถุงน้ำดี

 

เครื่องเอซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan

 

  • ทำในผู้ป่วยที่ติดเชื้อบริเวณลำไส้ ตับอ่อน

 

ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

 

  • ตรวจหาการติดเชื้อตรงเนื้อเยื่ออ่อน

 

 

ยาปฏิชีวนะ

 

 

การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

 

ใช้ยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ

 

  • หากได้รับในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกหลังติดเชื้อ จะมีโอกาสรอดจากการเสียชีวิต

 

  • แต่ถ้าได้รับไม่ตรงกับเชื้อโรค หรือช้าเกินไป เสี่ยงที่จะเป็นอันตรายอย่างสูง

 

  • นอกจากนี้ยังมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

 

ผ่าตัดบริเวณอวัยวะที่ติดเชื้อ

 

  • เช่น ระบายหนองในช่องท้อง

 

  • ผ่าตัดเนื้อเยื่อตายที่ผิวหนัง

 

ประคับประคองอาการ

 

โดยพิจารณาตามอาการความผิดปกติ

 

  • ฟอกไตให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย

 

  • ให้เลือดในผู้ป่วยภาวะซีด

 

  • หากเกิดภาวะหายใจล้มเหลว แพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจรวมทั้งออกซิเจน

 

 

ยาปฏิชีวนะ

 

 

การป้องกันติดเชื้อในกระแสเลือด

 

  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรรักษาสุขภาพให้เป็นอย่างดี

 

  • หากมีโรคประจำตัวต้องรักษาให้หายขาด

 

ดูแลรักษาสุขอนามัยตามปกติ

 

  • เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

 

  • ออกกำลังกาย

 

  • ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อความสะอาด

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด

 

  • ไม่ไปในสถานที่เกิดการระบาดของเชื้อโรค

 

 

บทความนี้เป็นเพียงสื่อในการเผยแพร่ความรู้เพียงเท่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ให้ท่านที่เข้ามาอ่าน ได้ระมัดระวังตนเอง เพราะถ้าหากติดตามข่าวสารจากโซเชียลมีเดียหรือโทรทัศน์ เราจะได้ยินผู้ที่เสียชีวิตจากสาเหตุติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นครั้งคราว ดังนั้นหากหรือมีญาติ คนรู้จัก เพื่อน ท่านใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งตัวเอง ควรปรึกษาการดูแลปัญหาสุขภาพกับแพทย์ที่โรงพยาบาล