การประกอบอาหารโดยการใช้เตาถ่าน จะต้องจุดไฟกับเชื้อเพลิง เกิดควันและก๊าซต่าง ๆ ที่สูดดมเข้าไปแล้วอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจได้ ไม่ต่างจากการได้รับมลพิษทางอากาศทั้งควันบุหรี่หรือท่อไอเสียจากพาหนะยานยนต์ ซึ่งมักจะเป็นเมนูจากการปิ้ง ย่าง บาร์บีคิว หม้อไฟ เช่น หมูกระทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมพื้นที่ปิดหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก ยิ่งจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะผิดปกติได้
เมื่อจุดไฟโดยผ่านถ่านเพื่อรับประทานอาหารต่าง ๆ จะมีควันจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นผู้ที่กำลังบริโภคจะได้รับแก๊ส 2 ชนิด ดังนี้
คาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอนมอนอกไซด์
ซึ่งจะเสี่ยงต่อผลกระทบในร่างกาย
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาให้ผู้ที่ชื่นชอบเมนูปิ้งย่างจากเตาถ่าน เลิกพฤติกรรมการบริโภค เพียงแต่ควรเลือกสถานที่และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลดความเสี่ยงผลกระทบที่จะได้รับ รวมทั้งการควรตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อีกอย่างที่ต้องระวังอย่างยิ่งจากการประกอบอาหารประเภทนี้คือ อุบัติเหตุที่คาดคิดอย่างอัคคีภัย เนื่องจากต้องใช้ไฟ ซึ่งหากปล่อยปละละเลย อาจจะไม่ใช่เราเพียงผู้เดียวที่เดือดร้อน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง