เต้าหู้
เต้าหู้ วัตถุดิบอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ

เต้าหู้ (Tofu) คือ วัตถุดิบอาหารที่เกิดจากการแปรรูปของถั่วเหลือง เหมาะสำหรับผู้รับประทานมังสวิรัติ ทดแทนการละเว้นเนื้อสัตว์ นม ไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดหรือร้านสะดวกซื้อ ปัจจุบันมีการนำมาดัดแปลงร่วมกับวัตถุดิบอื่น เช่น ชีส เนื้อปลา หรือเป็นขนมหวานอย่างเต้าฮวย หรือเครื่องดื่มอย่างน้ำเต้าหู้นมสด ทำให้สามารถบริโภคกันได้อย่างหลากหลายทุกเพศวัย

 

 

ประเภทของเต้าหู้

 

แบบแข็ง

 

  • ทำมาจากน้ำเต้าหู้ผสมกับแมกนีเซียมซัลเฟตจนตกตะกอน มีลักษณะสีขาว

 

  • หากต้องการให้มีความยืดหยุ่นหรือแข็งกว่า จะใช้ขมิ้นเคลือบบริเวณผิว ทำให้มีลักษณะเป็นสีเหลืองนำไปใส่ในเมนูต่าง ๆ เช่น ผัดไทย หมี่กะทิ

 

  • สามารถปรับวัตถุดิบให้มีความอุ่นนุ่มเพื่อนำไปทอด และประกอบในเมนูอย่างไข่พะโล้ เป็นต้น

 

แบบอ่อน

 

  • นำน้ำนมถั่วเหลืองผสมกับแคลเซียมซัลเฟตจนตกตะกอน ผ่านกระบวนการต้มใส่ขมิ้น จึงมีลักษณะเป็นสีเหลือง อ่อนนิ่ม เมื่อนำไปทอดจะกรอบนอกนุ่มใน

 

  • หากต้องการนำไปทำเต้าหู้ทรงเครื่อง จะใช้เวลาทำที่น้อยกว่า

 

เต้าหู้หลอด

 

  • ทำมาจากเต้าหู้ผสมกับไข่ไก่ บรรจุภัณฑ์เป็นหลอดแท่ง มักจะนำมาใส่ในแกงจืด

 

เต้าหู้ญี่ปุ่น

 

  • เต้าหู้นิ่ม ได้มาจากตะกอนที่ผ่านการคนน้ำนมถั่วเหลือง

 

  • Aburaage ลักษณะแบบแผ่นที่นำไปทอด

 

  • Atsuage เต้าหู้ทอดที่กรอบนอกนุ่มใน

 

 

เต้าหู้ญี่ปุ่น

 

 

โภชนาการของเต้าหู้

 

เต้าหู้ทุก 100 กรัม จะมีสารอาหารที่แบ่งเป็นร้อยล่ะได้ ดังนี้

 

  • โปรตีน 7.4

 

  • ไขมัน 3.1

 

  • น้ำตาล 2.7

 

พร้อมด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม ได้แก่

 

  • แคลเซียม 277

 

  • ฟอสฟอรัส 57

 

  • เหล็ก 2.1

 

นอกจากนี้ยังมีวิตามิน บี 1 2 และ 3 แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และซีลีเนียม รวมทั้งกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้

 

 

เต้าหู้มีประโยชน์อย่างไร

 

  • มีเลซิตินที่ช่วยในการลดไขมัน

 

  • โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์บางชนิด

 

  • น้ำตาลต่ำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคได้

 

  • ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง

 

  • ย่อยง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาช่องปากและฟันรวมทั้งระบบย่อยอาหารผิดปกติ

 

  • เป็นอาหารของผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็กเยอะ

 

  • ร่างกายสามารถปรับการหลั่งฮอร์โมนให้สมดุลได้ เนื่องจากมีสารที่ช่วยเร่งเอนไซม์

 

  • การทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  • ดีต่อสุภาพสตรี เพราะมีไฟโตเอสโตรเจน ที่ช่วยชะลอการหมดประจำเดือน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

 

 

กินเต้าหู้สุขภาพดี

 

 

การเลือกเต้าหู้ก่อนนำมาทำอาหาร

 

  • มีบรรจุภัณฑ์ห่อมาอย่างดี หรือเพิ่งทำออกมา

 

  • ไม่มีน้ำสีขาวขุ่นซึมออกมา

 

  • ไร้กลิ่นเหม็นเปรี้ยว

 

  • มีสีขาวนวล ไม่คล้ำและปราศจากจุดด่างดำ

 

  • ในส่วนของเต้าหู้ไข่ไก่แบบหลอด ควรสังเกตวัน เดือน ปีที่ผลิตและหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์

 

  • เต้าหู้ที่วางทิ้งไว้ 1 วันแล้วยังไม่เสีย ก็ไม่ควรนำมาบริโภค เนื่องจากเสี่ยงที่จะได้รับสารกันบูด

 

  • ไม่ควรซื้อมาเป็นจำนวนมาก

 

  • หากเต้าหู้เหลือ สามารถนำมาต้มแล้วใส่ตู้เย็นจะสามารถเก็บได้ 7-15 วัน

 

 

เต้าหู้มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น หลังจากนั้นจึงแพร่หลายกันมายังในประเทศญี่ปุ่น และเห็นได้ถึงพัฒนาการรูปแบบรวมทั้งกรรมวิธีผลิตเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป แต่คุณค่าทางสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนยังคงเดิม ช่วงเทศกาลกินเจนี้ ผู้ที่ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ มารับประทานเต้าหู้ ควรระมัดระวังหากนำมาทอด ผัด เพราะอาจส่งผลกระทบร่างกายได้ เนื่องจากมีไขมันสูง เสี่ยงโรคร้ายอย่างมาก