ต่อมทอนซิล
ต่อมทอนซิล อวัยวะที่ทำหน้าที่คัดกรองเชื้อโรคให้ร่างกายของเรา

 

หนึ่งในอวัยวะที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามาในลำคอ หรือผ่านเข้ามาทางการหายใจให้กับร่างกายของเรา คงจะหนีไม่พ้นต่อมทอนซิล (Tonsils) ถึงแม้ว่าอวัยวะส่วนนี้จะมีหน้าที่ในการคัดกรองเชื้อโรคให้กับเรา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอวัยวะส่วนนี้จะติดเชื้อโรคไม่ได้ และหากเกิดการติดเชื้อ อาจนำไปสู่โรคที่มีชื่อว่า ทอนซิลอักเสบ 

 

 

สาเหตุของทอนซิลอักเสบ

 

จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่าต่อมทอนซิล ทำหน้าที่คัดกรองเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในลำคอ ทำให้อวัยวะส่วนนี้ต้องต่อสู้กับแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสหลากหลายชนิด จึงส่งผลให้อวัยวะส่วนนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้ต่อมทอนซิลยังสามารถติดเชื้อจากการรับเชื้อมาจากผู้อื่น เช่น การเข้าใกล้ผู้ป่วยที่มีเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วการติดเชื้อมักมาจากไวรัสหลายชนิด ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่มักเป็นสาเหตุของโรคนี้มีชื่อว่า สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Group A Streptococcus) แต่ว่าโรคนี้มักพบได้น้อยในผู้ใหญ่ และสามารถพบในเด็กเล็กมากกว่า เนื่องจากเป็นวัยที่อยู่ในช่วงเติบโตที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรครอบตัวจากการใช้ชีวิต 

 

 

อาการของทอนซิลอักเสบ

 

อาการของโรคนี้สามารถสังเกตให้เห็นได้อย่างชัดเจนผ่านความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลำคอ เช่น

 

  • มีอาการเจ็บข้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน

 

  • กลืนลำบาก หากกลืนจะมีอาการเจ็บในลำคอ

 

  • เสียงเปลี่ยนไป เช่น เสียงแหบ เป็นต้น

 

  • ปากมีกลิ่นเหม็น

 

  • ต่อมทอนซิลมีอาการบวมแดง และมีจุดหรือชั้นบาง ๆ เกิดขึ้นบนต่อมทอนซิล

 

นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่

 

 

  • ปวดหู, ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจมีอาการตาแดง

 

 

คัดจมูก

 

 

  • คัดจมูก แต่น้ำมูกไม่เยอะ และมีสีใส

 

  • ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากทอนซิลอักเสบ

 

เนื่องจากอวัยวะดังกล่าวอยู่บริเวณลำคอ จึงสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายได้หลายกรณี ดังนี้

 

 

  • ภาวะแทรกซ้อนกับเด็ก หากไม่ได้รับการรักษา หรือดูแลจนหายขาด สามารถทำให้เกิดโรคได้ เช่น ไข้รูมาติก หรือกรวยไตอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้การเกิดโรคในเด็ก เกิดจากแบคทีเรียสเตร็ปโตคอสคัส (Streptococcus) นั่นเอง

 

 

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบเบื้องต้น

 

หากเป็นการอักเสบจากเชื้อไวรัส สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าหากมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือรับประทานยาแก้ไข้ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการฉีดยาในผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรง หรือต่อมทอนซิลเป็นหนอง

 

 

การผ่าตัดต่อมทอนซิล

 

อย่างที่เราทราบกัน ว่าต่อมทอนซิลทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในร่างกาย หากต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบเรื้อรังจนไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้เหมือนเดิม ต่อมทอนซิลจะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคไปโดยปริยาย การผ่าตัดจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้รักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบให้หายขาด 

 

โดยแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด ในกรณีต่อไปนี้

 

 

นอนกรน

 

 

  • ผู้ป่วยมีภาวะเป็นต่อมทอนซิลหลายครั้ง หรือเป็นเรื้อรังจนส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนกรน, มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น

 

  • ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

  • ผู้ป่วยเคยเป็นฝีที่ต่อมทอนซิลมาก่อน

 

ทางโรงพยาบาลเพชรเวช มีบริการผ่าตัดต่อมทอนซิลที่เจ็บน้อยกว่า และฟื้นตัวได้เร็ว เมื่อผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านได้ทันทีโดยไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาล

 

 

ข้อแนะนำหลังการผ่าตัด

 

  • ให้นอนตะแคง หรือนอนในท่าศีรษะสูง เพราะจะทำให้ไม่เกิดการสำลักเลือด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดในระยะแรก

 

  • หากมีเลือดออกจากช่องปาก ควรรีบแจ้งแพทย์ และให้อมน้ำแข็งบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบวม และปวดบริเวณแผลผ่าตัด

 

  • ห้ามใช้อุปกรณ์ใด ๆ เขี่ยแผลเด็ดขาด 

 

  • ไม่ควรไอ หรือขากเสมหะแรง เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่าย

 

  • ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บคอ และปวดแผลผ่าตัดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

 

  • แผลในลำคออาจจะเป็นสีขาวหลังผ่าตัด เกิดจากการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย

 

 

ข้อแนะนำเมื่อผู้ป่วยกลับถึงบ้านหลังจากการผ่าตัด

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบ

 

 

ทานโยเกิร์ต

 

 

  • ช่วง 1-2 วันแรก ควรทานอาหารชนิดน้ำ เช่น นมเย็น, โยเกิร์ต และไอศกรีม หลังจากนั้นสามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ เช่น ข้าวต้ม, โจ๊ก เป็นต้น

 

  • งดรับประทานอาหารร้อน, รสจัด และแข็ง

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้เสียงดัง, การกระแอม และการตะโกน

 

 

ไอศกรีมกับต่อมทอนซิลอักเสบ

 

หลายคนอาจเข้าใจว่าถ้าเจ็บคอ หรือเป็นไข้ ควรรับประทานน้ำอุ่น และหลีกเลี่ยงของเย็น เพราะจะทำให้หายช้า แต่ความเชื่อนั้นใช้ไม่ได้กับการเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หากเราเป็นแผลอักเสบแล้วนำของร้อนมาเทใส่แผล ย่อมส่งผลให้ยิ่งอักเสบมากขึ้น ทางที่ดีในการช่วยบรรเทาอาการปวดจากต่อมทอนซิลอักเสบ คือ การกินไอศกรีมช็อกโกแลต หรือไอศกรีมดาร์กช็อกโกแลต เพราะในโกโก้จะมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย

 

 

การป้องกันทอนซิลอักเสบ

 

โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัย แต่เราควรให้ความสำคัญกับเด็กเล็กที่มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้การปฏิบัติตัวด้วยสุขอนามัยที่ดี เช่น

 

 

ล้างมือ

 

 

  • ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อน และหลังการทำกิจกรรมทุกอย่าง

 

  • ไม่ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน, แปรงสีฟัน และแก้วน้ำ เป็นต้น

 

  • หากเคยป่วยเป็นทอนซิลแล้วให้เปลี่ยนแปรงสีฟันที่เคยใช้ทันที

 

 

แม้โรคต่อมทอนซิลอักเสบ จะสามารถรักษาให้หายเองได้ โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากเกิดการอักเสบเรื้อรัง และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน และส่งผลเสียต่อร่างกายตามมา หากท่านพบว่าตนเองมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องทันที ก่อนที่โรคธรรมดาจะกลายเป็นโรคร้ายจนเกินเยียวยาในที่สุด



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิกหูคอจมูก

 

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

 

ตัดต่อมทอนซิลอันตรายหรือไม่