ไข้ไทฟอยด์, ไข้สากน้อย (Typhoid, Enteric fever) โรคที่น้อยคนจะรู้จัก ยังเคยมีประวัติว่าไข้ไทฟอยด์ เคยก่อให้เกิดความเจ็บปวด และการสูญเสียในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกด้วย แต่ประเทศที่มีแหล่งอุตสาหกรรม หรือพัฒนาแล้ว จะพบโรคนี้ได้น้อย
ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง ที่เรียกว่า Salmonella Typhi โดยสามารถติดต่อได้ ผ่านการแพร่กระจายจากคนสู่คน เช่น การรับประทานอาหาร น้ำที่มีการปนเปื้อน และการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ เป็นต้น แต่ถึงแม้ผู้ป่วยที่เป็นไข้ไทฟอยด์ จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้ว แต่เชื้ออาจจะยังค้างอยู่ภายในถุงน้ำดี หรือลำไส้ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงนับเป็นพาหะนำโรค
ช่วงแรกจะมีไข้ต่ำ แต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลางคืน
ผื่นขึ้นที่บริเวณหน้าอก และท้อง
เบื่ออาหาร และน้ำหนักตัวลดลง
ไข้ไทฟอยด์ จะมีระยะฟักตัวอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แต่จะแสดงอาการช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 นับจากตอนที่ได้รับเชื้อ
มีฝีกระจายทั่วร่างกาย กระดูก เยื่อบุหัวใจ และถุงน้ำดีเกิดการอักเสบ
มีการตกเลือดในลำไส้
ผู้อาศัย หรือผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
การทำงานในห้องปฏิบัติการที่มีความเสี่ยง ที่จะได้รับการสัมผัสกับเชื้อโรค
มีบุคคลใกล้ตัว หรือบุคคลในครอบครัว ป่วยเป็นไข้ไทฟอยด์
การทดสอบไวดาล
เป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ร่างกายของเชื้อในส่วนที่เป็น O และ H มักจะตรวจพบหลังจากที่ผู้ป่วยเกิดอาการมาแล้ว 7-10 วัน แต่วิธีนี้จะได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับการเพาะเชื้อ
การทดสอบทูเบ็กซ์
เป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ร่างกายของผู้ป่วย ที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านแอนติเจนของเชื้อ
การเพาะเนื้อเยื่อ หรือเชื้อจากของเหลวภายในร่างกาย
แพทย์จะสามารถหาสายพันธุ์ของแบคทีเรียได้ โดยใช้ตัวอย่างเล็กน้อยจากอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด ไขกระดูก หรือไขสันหลัง ร่วมกับการใช้กล้องจุลทรรศน์
การให้ยาลดไข้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไข้ขึ้นสูง เช่น ให้ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง
การเช็ดตัวให้ผู้ป่วย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย
อาจให้สารน้ำทดแทนผ่านทางหลอดเลือด หากผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย และอาเจียนอย่างรุนแรง
การผ่าตัด สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้ทะลุ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง
ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ
หลีกเลี่ยงการรับประทานผัก และผลไม้ดิบที่ไม่สามารถปอกเปลือกออกได้ (ถ้าไม่มั่นใจว่ามีความสะอาด)
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อน
ฉีดวัคซีนต้านไข้ไทฟอยด์ แต่จะมีผลป้องกันแค่ 2-5 ปี และระยะเวลาในการป้องกัน จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ได้รับ
ไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคติดต่อที่มีความอันตราย และน่ากลัวมาก เพราะมีอาการ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยสามารถเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ทุกท่านควรป้องกันตัวเองให้ดี ดื่มน้ำที่สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
ล้างมือทุกครั้ง ทั้งก่อน และหลังเสร็จกิจธุระ หากท่านใดมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นไข้ไทฟอยด์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ รักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากแพทย์