การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลร่างกาย เพราะทุกวันที่เราใช้ชีวิต ไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าภายในร่างกาย จะได้รับผลกระทบจากมลพิษใดบ้าง ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปี จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยค้นหา และทำให้รู้ทันโรค เพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที
มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ, สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ, การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ, อายุ, เชื้อโรคที่ถูกพัฒนาตามธรรมชาติ เป็นต้น สาเหตุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งอาการอาจจะไม่ได้แสดงออกมาในทันที แต่ร่างกายจะสะสมเชื้อโรค ส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ลดสมรรถภาพลง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ถึงตอนนั้นการรักษาอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แพทย์ทำได้เพียงบรรเทาความรุนแรงของโรคที่ร่างกายได้รับผลกระทบเท่านั้น ถ้าหากท่านตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยที่สุดเพียงปีละ 1 ครั้ง หากวินิจฉัยตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันโรค, ภาวะแทรกซ้อน และความผิดปกติ อื่น ๆ ได้
รายการตรวจแบบพื้นฐาน
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ (Physical Examination)
ตรวจหาค่าดัชนีมวลกาย วัดสัญญาณชีพ (BMI and Vital Signs)
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol)
ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (ชนิดดี) (HDL)
ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (ชนิดไม่ดี) (LDL)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine & eGFR)
ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)
เอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)
รายงานผลการตรวจสุขภาพ (A4) (Check-up Report)
รายการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม
ขึ้นอยู่กับราคาของโปรแกรม, เพศ และอายุของผู้เข้ารับบริการ รวมถึงสิทธิประสังคม ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงพยาบาล
สุขภาพปาก และฟัน (Dental Examination)
ตรวจวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Auto Refraction)
ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hb-A1C)
ตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือด (Uric acid)
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (Alkaline phosphatase)
ตรวจการทำงานของตับ (Liver function test)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)
ตรวจหาภูมิคุ้มกันไว้รัสตับอักเสบบี (Anti HBs)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T3)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T4)
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA-125)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
ตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ (OB-GYN)
ตรวจหามะเร็งปากมดลูก (Thin Prep)
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวด์ (Digital Mammogram With Breast Ultrasound)
ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
ข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างรายการตรวจสุขภาพประจำปี 2567 ของโรงพยาบาลเพชรเวช ซึ่งรายการตรวจของแต่ละสถานพยาบาลอาจจะแตกต่างกัน และเปลี่ยนแปลงไปตามโปรแกรม หรือแพ็คเกจของสถานพยาบาลนั้น
ส่วนราคาแพ็คเกจตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลเพชรเวช จะเริ่มต้นที่ราคา 1,270 บาท (สำหรับผู้ถือสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลเพชรเวช) และราคาปกติ 1,590 บาท ที่มี 17 รายการตรวจ ไปจนถึงราคา 11,610 (สำหรับผู้ถือสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลเพชรเวช) และราคาปกติ 12,900 บาท ที่มีถึง 33 รายการตรวจ โดยท่านสามารถเลือกตรวจตามแพ็คเกจที่เหมาะกับท่านได้
สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ หรือความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับร่างกาย และได้รับวัคซีนป้องกันโรคแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารคลีน, ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการลดความเสี่ยง หรืออาการรุนแรง ในกรณีหากร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ามา ซึ่งไม่มีผู้ใดที่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน ว่ามันทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม หรือเกิดความผิดปกติตรงจุดใด ดังนั้น จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือกับอุปกรณ์ของแพทย์ เข้ามาเป็นตัวช่วยตรวจสุขภาพ และเจ้าหน้าที่คอยบริการบอกข้อมูลตามความประสงค์ของผู้รับบริการ ความจำเป็นสำหรับการตรวจสุขภาพจึงเป็นเรื่องวิจารณญาณของแต่ละบุคคล
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan
สามารถวินิจฉัยโรค และความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายได้ โดยเฉพาะสมอง, ช่องท้อง, บริเวณอก และกระดูก สามารถสร้างภาพจากการฉายรังสีเอกซ์ ความเร็วสูงชนิด 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 0.5 วินาที
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
การทำงานจะคล้ายกับเครื่อง CT Scan แต่จะสามารถสร้างภาพได้ละเอียดกว่า พร้อมหาตำแหน่งความผิดปกติ หรือการเกิดโรคชัดขึ้น โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผล ซึ่งจะใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุความเข้มสูง
Digital Mammogram & Ultrasound
ใช้ในการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านม และความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยง หรือผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
ตรวจความผิดปกติจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น โลหิต, ปัสสาวะ, อุจจาระ, เนื้อเยื่อ และน้ำลาย เป็นต้น ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ รวดเร็ว อุดมไปด้วยประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2560 โดยสภาเทคนิคการแพทย์
Cath Lab ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ
เป็นห้องประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดอื่น ๆ ในร่างกาย ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอ และบันทึกเป็นระบบเทปโทรทัศน์แบบดิจิทัล ที่สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตามความต้องการ เพื่อตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดมากขึ้น
EST เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ ว่ามีภาวะขาดเลือดหรือไม่ โดยให้ผู้ป่วยวิ่งบนลู่วิ่ง, การวิ่งสายพาน หรือปั่นจักรยาน วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายกำลังออกแรงอย่างหนัก หัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่
ECHO เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูขนาดของห้องหัวใจ ตามแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อบนหน้าจอ จากการแปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ และนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ
จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลเพชรเวชจะเน้นการป้องกันสมอง และหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือมีความเสี่ยงร้ายแรง อาจถึงแก่ชีวิตได้ อีกทั้งยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีในการตรวจรักษา รับรองผู้เข้ารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีทุกเพศ และทุกวัย รวมทั้งการตรวจคัดกรองโรคแต่ละโปรแกรม แต่ผู้ป่วยควรเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับตัวท่านด้วย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รวมข้อสงสัยโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี