Petcharavejhospital.com
Health promotion
Without extra charge

More

More
Doctor
Dr.CHAIYASIT SURIYANUSORN
Internal Medicine Clinic
Doctor profile
Dr.PEAR SUBSAMROUY
Obstetrics and Gynecologist Clinic
Doctor profile
Dr.PHUWASIT TRIJAKSUNG
Surgery Center
Doctor profile
Dr.UTAIN BOONORANA
Neuroscience Center
Doctor profile

More
Health articles
โรคอ้วนในเด็ก โรคที่ผู้ปกครองต้องดูแลใส่ใจอย่างจริงจัง
  โรคอ้วนในเด็ก (Child Obesity) คือ ภาวะการสะสมของไขมันในร่างกายที่มีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ในปัจจุบันโรคนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ปกครองควรหันมาใส่ใจสุขภาพบุตรหลานของท่านกันให้มากขึ้น เพราะโรคนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเสี่ยงนำไปสู่การเสียชีวิตได้      สาเหตุของโรคอ้วนในเด็ก     ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย     พันธุกรรม โดยเด็กจะมีความเสี่ยง หากบุคคลในครอบครัวมีใครเป็นโรคอ้วน         พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม      โรคประจำตัว หรือผู้ที่มีกลุ่มอาการเฉพาะ     ปัญหาสุขภาพที่ตามมา เมื่อเกิดโรคอ้วนในเด็ก         โรคทางระบบหายใจ ซึ่งเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ     ไขมันในเลือด, ความดันโลหิตสูง     โรคเบาหวาน, ภาวะไขมันพอกตับ      ในเพศหญิง อาจจะมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ     โรคทางกระดูก, กล้ามเนื้อ, ข้อ     ถุงน้ำดี และตับเกิดการอักเสบ    การวินิจฉัยโรคอ้วนในเด็ก     การวัดค่าดัชนีมวลกาย ต้องเปรียบเทียบตาราง BMI ตามอายุ โดยให้ดูน้ำหนักตามเกณฑ์ เทียบกับส่วนสูง หากมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ จะถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน     ตรวจเลือด เพื่อหาค่าระดับไขมัน, วิตามินดี, น้ำตาล, ฮอร์โมนที่ทำงานผิดปกติ ในร่างกายของเด็ก     วิธีป้องกันโรคอ้วนในเด็ก     ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงอาหารทอด, อาหารประเภทแป้ง, อาหารรสจัด, การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่, เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เป็นต้น     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยการหากิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย          ควรดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมจืดพร่องมันเนย     ลดระยะเวลากิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น การดูทีวี, เล่นเกม, เล่นโทรศัพท์     ผู้ปกครองต้องคอยเป็นกำลังใจ เพราะกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน     ในปัจจุบันนี้ ทั่วโลกพบว่ามีแนวโน้มที่จะประสบพบเจอกับโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น ผู้ปกครองควรหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของบุตรหลานกันให้มากขึ้น เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตบุตรหลานของท่าน หากจะป้องกันโรคนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค, การใช้ชีวิต, กำลังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก หากบุตรหลานของท่าน มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคอ้วนในเด็ก ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย รับคำแนะนำ และรักษาต่อไป   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    กุมารเวช   3 วิธีการลดอ้วนที่ไม่ใช่แค่น้ำหนักลด   โรคอ้วนกับพุงที่ไม่ได้รับเชิญ   อ้วนลงพุง พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
Read more
ลำไส้แปรปรวน โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
  ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลำไส้ส่วนปลายที่ผิดปกติ ทำให้มีการบีบรัดตัวมาก และไวต่อสิ่งกระตุ้น ส่งผลให้มีอาการปวดเกร็ง, แน่นอึดอัดท้อง, การขับถ่ายผิดปกติ เป็นต้น     ลำไส้แปรปรวน เกิดจากสาเหตุใด         พันธุกรรม หรือความเครียดที่ประสบพบเจอในแต่ละวัน     จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ป่วยเป็นลำไส้แปรปรวนได้     ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ      การติดเชื้อทางเดินอาหาร     ลำไส้แปรปรวน อาการเป็นอย่างไร     ลำไส้แปรปรวนจะมีอาการที่สามารถบ่งชี้ได้ คือ การขับถ่ายที่ผิดปกติ และปวดท้องเรื้อรังแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยจะไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มอาการ เช่น กลุ่มอาการท้องผูก, กลุ่มอาการท้องเสีย และกลุ่มอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ ดังนี้     คลำเจอก้อนภายในท้อง     โลหิตจาง ถ่ายเป็นเลือด      มีไข้ น้ำหนักลดลง         คลื่นไส้ อาเจียนแบบรุนแรง     การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน     การส่องกล้องกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น     การส่องกล้องลำไส้ใหญ่     การเอกซเรย์     ตรวจอุจจาระ เพื่อค้นหาการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินอาหาร     ลำไส้แปรปรวน มีวิธีการรักษาอย่างไร      แพทย์จะให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต         ให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม โดยแพทย์จะค้นหาวิธีที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบ      รักษาโดยให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดท้อง, ยาระบาย, ยาต้านบีบเกร็ง, ยาต้านอาการซึมเศร้า เป็นต้น     วิธีป้องกันลำไส้แปรปรวน      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร      ในแต่ละวัน ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ         ลดความเครียด คลายความกังวล     ไม่กลั้นอุจจาระ     ออกกำลังกายเป็นประจำ     ลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากในแต่ละวัน ดังนั้น ทุกท่านควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดความเครียด และหันมาใส่ใจสุขภาพกันให้มากขึ้น ท่านใดที่เข้าข่ายอาการของโรคลำไส้แปรปรวน ให้เข้าพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยอาการ และดำเนินการรักษาต่อไป   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   รวมโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่ควรรู้   ลำไส้อักเสบ ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม   เมื่ออาหารทำพิษชีวิตเปลี่ยน   โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
Read more
24
Emergency Service 24 Hours
58
IPD : Day
1500
Counter IPD/OPD : Month
45
Years of caring