Magnetic Resonance Imaging
Magnetic Resonance Imaging

เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่ใช้เพื่อการวินิจฉัยร่างกายอย่างละเอียด แม่นยำ ปลอดภัยจากรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด นั่นคือ เครื่อง MRI ซึ่งจะใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุความเข้มสูง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผล พร้อมทั้งสร้างภาพกายวิภาคที่มีความคมชัด ช่วยให้แพทย์สามารถหาสาเหตุของโรค และอวัยวะที่เสียหาย หรือเสื่อมสภาพของผู้ป่วยได้ตรงจุด สามารถรายงานผลหลังตรวจอย่างรวดเร็ว และช่วยในเรื่องวางแผนการรักษาได้เป็นอย่างดี

 

 

ทำความรู้จักกับเครื่อง MRI

 

 

ใช้สำหรับตรวจโรคอะไร และส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง

 

ตรวจได้ทุกส่วนของร่างกาย แบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

 

1. อวัยวะของระบบประสาท (neuro)

 

  • เช่น เนื้อสมองส่วนต่างๆ หลอดเลือดแดงที่คอ เส้นเลือดในสมอง และกะโหลกศีรษะ เป็นต้น

 

2. อวัยวะภายในร่างกาย (Body) 

 

  • ผนังทรวงอก หรือก้อนที่ Chest wall

 

  • อวัยวะภายในช่องท้องส่วนบน เช่น ตับ ม้าม ถุงน้ำดี และไต เป็นต้น

 

  • อวัยวะภายในช่องท้องส่วนล่าง เช่น มดลูก รังไข่ และต่อมลูกหมาก เป็นต้น

 

3. โครงกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) หรือ MSK ได้แก่

 

  • ข้อไหล่ ข้อมือ กล้ามเนื้อขาส่วนต้น ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น

 

  • รวมทั้งกระดูกสันหลัง (Spine)

 

สามารถใช้เครื่อง MRI วินิจฉัยยืนยันโรคได้หลากหลาย ตามที่แพทย์สันนิษฐานตามอาการของผู้ป่วย เช่น โรคสมองเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เอ็นข้อเข่าส่วนหน้าขาด รวมทั้งสามารถตรวจความเสียหายของทุกส่วนในร่างกายจากการได้รับอุบัติเหตุ

 

 

ประโยชน์ของเครื่อง MRI

 

  • ไม่มีอันตรายจากรังสีเหมือนการตรวจร่างกายแบบอื่นๆ สามารถเข้ารับบริการได้ทุกเพศทุกวัย

 

  • ญาติของผู้ตรวจ MRI สามารถเข้าไปในห้องขณะทำการตรวจได้

 

  • ปัจจุบันผู้ป่วยที่มีขดลวด หรือวัสดุโลหะที่ฝังอยู่ในร่างกาย รวมทั้งผู้ที่ติดเหล็กดัดฟันสามารถเข้าทำการตรวจ MRI ได้

 

  • หากผู้เข้ารับบริการมีความกังวลกับการตรวจ MRI สามารถใช้ยาสลบ ยานอนหลับ หรือยาคลายเครียด แล้วจึงทำการตรวจได้

 

 

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ MRI

 

  • ก่อนการตรวจ MRI แพทย์จะวินิจฉัยผู้ตรวจในผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์วัสดุโลหะบางอย่างในร่างกาย เช่น ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมภายในหู (Cochlea Implant) ผู้ที่ใส่เครื่องเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) ผู้ที่ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (Stent) ว่าสามารถทำการตรวจได้หรือไม่

 

  • สำหรับผู้ที่ติดเหล็กดัดฟันนั้น อาจจะต้องถอดเหล็กดัดฟันก่อนหากต้องการตรวจ MRI ในส่วนของ กระดูกต้นคอ หรือลำคอ เพราะอาจทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้

 

 

MRI  Philip Prodiva 1.5T CS and CX products

 

 

โรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ยี่ห้อ Philip Prodiva 1.5T CS and CX products. พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก และความปลอดภัยแก่ผู้เข้ารับบริการ ได้แก่

 

 

      Receiver

 

 

อุปกรณ์รับสัญญาณเฉพาะส่วน

 

  • เช่น อุปกรณ์รับสัญญาณส่วนศีรษะ บริเวณหน้าท้อง และตามส่วนข้อต่างๆ ของร่างกาย

 

 

Electrocardiogram ECG

 

 

เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG

 

  • เป็นเครื่องวัดกำลังของสัญญาณไฟฟ้าที่ทำให้หัวใจเต้น เพื่อหาความผิดปกติ และจังหวะการเต้นของหัวใจ ขณะเข้ารับบริการตรวจ

 

 

SpO2 measures respiration

 

 

SpO2 วัดค่าการหายใจ

 

  • เป็นเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด และประสิทธิภาพของปอดของผู้เข้ารับการตรวจ MRI 

 

 

Noise canceling headphones

 

 

หูฟังกั้นเสียง

 

  • การทำงานของเครื่อง MRI จะส่งเสียงรบกวน แต่จะไม่เป็นอันตราย หรือมีความดังจนเกินไป ผู้เข้ารับบริการตรวจสามารถไม่ใช้หูฟังกั้นเสียงนี้ได้

 

 

Emergency Squeeze

 

 

ลูกบีบฉุกเฉิน

 

  • หากมีอาการผิดปกติขณะที่ผู้เข้ารับบริการกำลังตรวจอยู่ในเครื่อง MRI สามารถลูกบีบฉุกเฉิน เรียกเจ้าหน้าที่เพื่อทำการหยุดตรวจชั่วคราว

 

 

Sandbags for the patient

 

 

ถุงทรายกั้นผู้ป่วย

 

  • ใช้กั้นผู้ป่วยไม่ให้ตกจากเตียงขณะอยู่ในเครื่อง MRI

 

 

หลังจากทำการตรวจแล้ว พนักงานจะทำความสะอาดเครื่อง MRI ทุกครั้งอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัย และความสะอาดของผู้เข้ารับบริการ หากทำการตรวจแล้วมีอาการที่ผิดปกติสามารถเข้าพบแพทย์ของโรงพยาบาลเพชรเวชได้ทันที อีกทั้งผู้ที่เข้ารับการตรวจ MRI ในบริเวณช่องท้องส่วนบน แพทย์อาจให้งดน้ำ งดอาหาร ก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

ศูนย์ MRI เบอร์โทรศัพท์ : 1390 

 

LINE @petcharavej คลิก