มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
สาระน่ารู้ เรื่อง "มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ"

 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในเพศชายช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของเยื่อบุภายในที่รวดเร็วผิดปกติ จนพัฒนากลายเป็นเนื้อร้าย ถึงแม้ว่าโรคนี้จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจเสี่ยงกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน 

 

 

สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัด แต่ปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่

 

  • มีแนวโน้มการเกิดโรคในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 

 

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น 

 

  • พบบุคคลในครอบครัวมีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อน

 

 

  • การใช้ยาเคมีบำบัด และเคยมีประวัติเข้ารับการรักษาบริเวณกระดูกเชิงกรานโดยใช้รังสี

 

 

สูบบุหรี่

 

 

  • ผู้ที่สูบบุหรี่

 

 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีอาการอย่างไร ?

 

 

ปวดหลังส่วนล่าง

 

 

  • ปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนล่าง

 

 

  • รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

 

  • หากมะเร็งเกิดการลุกลามจนไปอุดตันท่อไต อาจทำให้มีอาการของภาวะไตวายได้ เช่น น้ำปัสสาวะน้อยลง, คลื่นไส้, อาเจียน เป็นต้น

 

 

ระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ระยะเริ่มต้น : พบเชื้อมะเร็งที่บริเวณผนังกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ระยะที่ 1 : เชื้อมะเร็งลุกลามลึกลงไปยังผนังกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ระยะที่ 2 : มีการลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ระยะที่ 3 : เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ และอาจลุกลามไปถึงบริเวณระบบสืบพันธุ์

 

  • ระยะที่ 4 : เกิดการลุกลามและขยายมาจนถึงบริเวณผนังหน้าท้องกับกระดูกเชิงกราน ซึ่งอาจจะลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองกับอวัยวะข้างเคียงอื่น ๆ  

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

การตรวจปัสสาวะ 

 

เพื่อหาเม็ดเลือดและเซลล์มะเร็งที่มีการปะปนอยู่ในปัสสาวะ จากนั้นจะมีการนำไปตรวจเพาะเชื้อ และสารบ่งชี้มะเร็งในปัสสาวะ

 

 

การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ 

 

เป็นการดูโครงสร้างภายในของกระเพาะและท่อปัสสาวะ จากนั้นจะใช้การตรวจหาตำแหน่ง, ขนาด, จำนวน หรือรูปร่างของเนื้องอกร่วมด้วย 

 

 

การตรวจชิ้นเนื้อ 

 

แพทย์จะตัดตัวอย่างของชิ้นเนื้อที่อาจสงสัยว่าเป็นมะเร็ง และส่งตรวจเพื่อยืนยันผลว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ 

 

 

การตรวจทางรังสีวิทยา 

 

เป็นการใช้เครื่องมือเอกซเรย์, MRI, CT-SCAN หรือการอัลตราซาวด์บริเวณช่องท้อง เพื่อดูโครงสร้างในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจหาตำแหน่งและขนาดของก้อนมะเร็ง โดยแพทย์อาจจะดูการลุกลามของมะเร็งที่บริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย 

 

 

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 

  • การผ่าตัด จะเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการรักษาตามระยะของโรค, ความรุนแรง, สาเหตุ, ตำแหน่งและขนาด อาจรวมถึงการแพร่กระจายไปยังอวัยวะรอบข้าง

 

  • การใช้รังสีรักษา จะเป็นวิธีการรักษาก่อนหรือหลังผ่าตัด และสำหรับผู้ที่ปฏิเสธการผ่าตัด ซึ่งการใช้รังสีรักษาจะเป็นวิธีการรักษาเสริมจากการผ่าตัด

 

  • การใช้เคมีบำบัด สามารถใช้วิธีการรักษานี้ก่อนหรือหลังผ่าตัดได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผลของการรักษาให้ดีขึ้น

 

 

การป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน และรับประทานอาหารที่มีกากใยกับโปรตีนสูง

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาสูบ

 

  • หลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

 

 

ตรวจสุขภาพประจำปี

 

 

  • หากมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคนี้มาก่อน ควรเข้าพบแพทย์หรือตรวจสุขภาพอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี เพื่อค้นหาความเสี่ยงของการเกิดโรค

 

  • ถ้ามีอาการปัสสาวะผิดปกติ ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที 

 

 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่มีความอันตรายอย่างมาก หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะแล้วปล่อยทิ้งไว้ ท่านอาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ เพราะฉะนั้นควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค และถ้าหากมีอาการผิดปกติใดแสดงออกมา ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อเป็นการป้องกันปัญหารุนแรงที่อาจตามมาในอนาคตได้



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

ปัสสาวะเป็นเลือด ความผิดปกติภายในร่างกายอย่างรุนแรง