ภูมิแพ้ขึ้นตา หากปล่อยไว้เสี่ยงต่อเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง
ภูมิแพ้ขึ้นตา หากปล่อยไว้เสี่ยงต่อเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง

ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Conjunctivitis) คือ เยื่อบุตาขาวมีการอักเสบจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ ดวงตาจึงระคายเคือง อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ แม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ทำการรักษา มีความเสี่ยงต่อเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ๆ หรือชุมชนแออัด แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1. ภูมิแพ้ขึ้นตาแบบเฉียบพลัน 2. ภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาล 3. ภูมิแพ้ขึ้นตาแบบเรื้อรัง

 

 

สาเหตุภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากอะไร

 

  • ยาหยอดตา

 

  • น้ำยาคอนแทคเลนส์

 

  • ไรฝุ่น

 

  • ควัน

 

  • เกสรดอกไม้

 

  • ขนสัตว์

 

  • เครื่องสำอาง

 

  • ดวงตาสัมผัสกับเชื้อโรค

 

  • กลิ่นน้ำหอม

 

  • การสูดดมสารเคมี

 

  • การแพ้อาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล เป็นต้น

 

  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

 

 

อาการภูมิแพ้ขึ้นตา

 

  • ตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือออกชมพู

 

  • แสบตา

 

  • น้ำตาไหล

 

  • ตาเยิ้ม ชื้นแฉะ

 

  • มีอาการปวดบวมบริเวณเปลือกตา

 

  • ดวงตาไวต่อแสง

 

อาการร่วมที่ควรไปพบแพทย์ หากไม่บรรเทาลง 3-4 วัน

 

  • มีตุ่มที่ดวงตา หรือเปลือกตา

 

  • เจ็บ ปวดอย่างรุนแรงที่ตามาก โดยเฉพาะเมื่อถูกแสงแดด หรือในบริเวณที่มีความสว่าง

 

  • การมองเห็นผิดปกติ

 

 

การวินิจฉัยภูมิแพ้ขึ้นตา

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ถึงอาการ และระยะเวลาของการเกิดโรค รวมทั้งภูมิแพ้ของบุคคลในครอบครัว

 

ต่อมาแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยดวงตาของผู้ป่วยจากภายนอกก่อนว่ามีอาการบวม แดง มากน้อยหรือไม่ และมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตาหรือเปล่า ด้วยวิธีการอื่นๆ ได้แก่

 

การตรวจสอบความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity Test)

 

การใช้เครื่องออพธัลโมสโคป (Ophthalmoscope)

 

การขูดเก็บเยื่อบุตา (Conjunctival Swabs)

 

  • เป็นการตรวจสอบการตอบสนองต่อภูมิแพ้ จากเซลล์เม็ดเลือดขาว

 

การตรวจโลหิต

 

  • เพื่อตรวจสอบสารที่ป้องกันภูมิแพ้ และสารที่สร้างโปรตีน

 

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Test)

 

  • เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ และการตอบสนองของร่างกาย

 

 

การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา

 

ยาหยอดตา

 

  • ที่มีส่วนประกอบของยาต้านภูมิแพ้ และยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด สำหรับภูมิแพ้เฉียบพลัน

 

  • ที่มีประกอบด้วยยาต้านภูมิแพ้ ยาระงับการหลั่งสารมาสต์เซลล์ และโตติเฟน สำหรับภูมิแพ้ตามฤดูกาล

 

รับประทานยา

 

  • ยาไดเฟนไฮดรามีน

 

  • ยาต้านภูมิแพ้ที่ทำให้ง่วงนอน และไม่ง่วงนอน

 

การรักษาแบบอื่นๆ

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา

 

  • ประคบเย็นบนดวงตา

 

  • ล้างมือด้วยน้ำอุ่น หลังจากใช้ยาหยอดตา

 

 

คันตา

 

 

การป้องกันภูมิแพ้ขึ้นตา

 

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

 

  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย และเครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่มเป็นประจำ

 

  • ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • รับประทานผัก และผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง

 

 

ภูมิแพ้ที่กระจกตา แล้วใช้มือไปขยี้จนเกิดแผลเป็นอันตรายอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในอนาคตได้ หรือกระจกตาทะลุ หากแผลเปิด ต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ซึ่งถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ให้ดี ถึงขั้นตาบอดมองไม่เห็นทุพพลภาพไปตลอดชีวิตได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกจักษุ