ข้อเท้าแพลง (Ankle sprain) คือ ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าอย่างเฉียบพลัน เมื่อข้อเท้าเกิดการบิดหมุนออกจากเท้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบๆบริเวณนั้นเกิดการบาดเจ็บแบบฟกช้ำ จนถึงฉีกขาด บางกรณีถึงขั้นกระดูกหัก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระมัดระวังคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือนักกีฬาประเภทเข้าปะทะหนักๆ รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงอยู่เป็นประจำ กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีโอกาสข้อเท้าแพลงได้มากกว่าบุคคลปกติ
อุบัติเหตุ
การเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกาย
การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับขนาดเท้า
ระดับที่ 1
ระดับที่ 2
ระดับที่ 3
ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติการเกิดข้อเท้าแพลงในอดีต รวมทั้งอาการบาดเจ็บ และตรวจร่างกายผู้ป่วยทางภายนอกแบบเบื้องต้น เช่น การจับ ขยับ กดข้อเท้า ดูการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะเป็นการตรวจทางรังสีโดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ ได้แก่
การเอกซเรย์ (X-Ray)
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
การใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การรับประทานยา
การใช้อุปกรณ์
กายภาพบำบัด
การทำหัตถการ
การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็น (Reconstruction)
การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopy)
โดยมีหลักการง่ายๆ คือ R-I-C-E
R : Rest การพัก
I : Ice การประคบเย็น
C : Compression การพันผ้ายืดรัดข้อเท้า
E : ยกข้อเท้าขึ้นสูงให้สูงระดับหัวใจขณะนอน
ปกติแล้วข้อเท้าแพลงจะหายภายในเวลา 3-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการรักษาอย่างถูกวิธี และความรุนแรงอาการ ได้แก่
ทั้งนี้แม้ว่าหลังจากการรักษาภาวะข้อเท้าแพลงเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่ข้อเท้าจะเกิดการพลิกได้ง่ายกว่าบุคคลปกติทั่วไป รวมทั้งอาการการปวดข้อเท้า กระดูกข้อเท้าแบบเรื้อรังอีก ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้าควรไปพบแพทย์โดยทันที ไม่ควรต้องรอให้มีอาการหนักก่อน เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง