ประโยชน์การรักษาด้วยเคมีบำบัด พร้อมทั้งผลข้างเคีย
ประโยชน์การรักษาด้วยเคมีบำบัด พร้อมทั้งผลข้างเคียง

เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือมักจะได้ยินว่า คีโม คือยาหลายรูปแบบเข้าไปทำลาย หยุดยั้ง หรือต่อต้านเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโต มีประโยชน์ ในการรักษาโรคมะเร็ง และผลค้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัดเช่นกัน หากการใช้ยาสองชนิดขึ้นไปแก่ผู้ป่วย จะเรียกว่า การรักษาแบบผสม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาในการรักษาจากความรุนแรงของโรค การแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ และอวัยวะที่มีการตรวจพบเซลล์มะเร็ง

 

 

ประโยชน์ของการทำเคมีบำบัด

      

  • ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยเคมีบําบัดเพียงอย่างเดียว หรือการรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ โรคมะเร็งบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยเคมีบําบัดแล้วก็สามารถเกิดเนื้อร้ายขึ้นมาใหม่ได้อีก

      

  • ใช้ในการควบคุมเซลล์มะเร็ง เพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น โดยการทำให้เซลล์ลดลง ทำลายมะเร็งที่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ

      

  • ใช้ในการประคับประคองอาการ เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ จนไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นการใช้เคมีบำบัดเพื่อการบรรเทาอาการให้แก่ผู้ป่วยเท่านั้น

 

 

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด

 

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณยา ความรุนแรงของโรค ความแข็งแรง และการตอบสนองการรักษาของผู้ป่วย  ซึ่งจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

      

  • 1. ผมร่วง

      

  • 2. คลื่นไส้ อาเจียน

      

  • 3. เป็นไข้ หนาวสั่น

      

  • 4. เลือดกำเดาไหล

      

  • 5. เลือดออกทางไรฟัน

      

  • 6. เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก

      

  • 7. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

      

  • 8. มีอาการถ่ายเสีย โดยการถ่ายอุจจาระ วันละ 4 ครั้ง ขึ้นไป

      

  • 9. เกิดการติดเชื้อ

 

 

ชนิดของยาเคมีบำบัด

      

  • ยาชนิดรับประทาน (Oral Chemotherapy) เป็นลักษณะของยาเม็ด แคปซูล และยาน้ำ

      

  • การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous : IV)

      

  • การฉีดยาเข้าหลอดเลือดแดง (Intra-arterial : IA) เป็นการให้ยาโดยผ่านหลอดเลือดแดง

      

  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) บริเวณสะโพก หรือต้นแขน

      

  • การฉีดยาเข้าทางช่องท้อง (Intraperitoneal : IP)

      

  • การฉีดยาเข้าทางไขสันหลัง (Intrathecal) โดยการฉีดยาเข้าสู่บริเวณช่องว่างระหว่างชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง

      

  • ยาทาที่ผิวหนัง (Topical) เป็นลักษณะรูปแบบครีม

 

 

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด

 

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณยา ความรุนแรงของโรค ความแข็งแรง และการตอบสนองการรักษาของผู้ป่วย  ซึ่งการรักษาจะมีลักษณะเป็นรอบ หรือเป็นชุดตามช่วงระยะ เช่น การให้คีโม 1 สัปดาห์ แล้วพัก 3 สัปดาห์ คือ 1 รอบ หรือ1 ชุด

 

 

คีโม

 

 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด

      

  • 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่

      

  • 2. นอนหลังพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน 1- 2 ชั่วโมง

      

  • 3. แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ประจำ เพราะยาบางชนิดจะไปลดประสิทธิภาพของตัวยาเคมีบำบัด

      

  • 4. ทำจิตใจให้สงบ คลายความวิตกกังวล

 

 

ข้อปฏิบัติหลังจากการเข้ารับเคมีบำบัด

      

  • 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

      

  • 2. หากมีอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนวันนัดทำคีโม

      

  • 3. ไม่ควรรีบเร่งในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแบบคนปกติ ควรให้ร่างกายได้ฟื้นฟูก่อน

 

จากบทความข้างต้นจะเห็นถึงประโยชน์ และผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนที่สามารถรักษาโดยการทำเคมีบำบัด เช่น ผู้ที่ตั้งครรภ์โดยที่อายุครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต ขั้นรุนแรง ผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดต่ำ รวมทั้งผู้ที่เพิ่มประสบอุบัติเหตุ มีแผลใหญ่ภายนอกร่างกาย ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้หากได้รับการให้คีโม หรือเคมีบำบัด จะส่งให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่หนัก