โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เป็นความผิดปกติของหัวใจในทารกแรกเกิด ที่มีอันตรายต่อตัวเด็กอย่างมาก และอาจไม่แสดงอาการหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แต่สามารถสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กที่ช้ากว่าปกติ รวมไปถึงอาการเขียวคล้ำที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น ถึงแม้โรคนี้จะน่ากลัว แต่สามารถรักษาได้หลายวิธีทั้งการใช้ยา ผ่าตัด และการสวนหัวใจ
เป็นความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่เริ่มการสร้างอวัยวะในครรภ์มารดา ที่พบได้ในเด็กทารกแรกเกิด มีโอกาสพบได้ 8 ใน 1,000 คน จากความผิดปกตินี้ทำให้หัวใจไม่สามารถโอนถ่ายเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านหัวใจที่สำคัญของเด็กน้อยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง โรคนี้แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
โรคนี้ไม่ได้พบแค่ในเด็กทารกแรกเกิดเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในเด็กเล็ก สำหรับเด็กที่ไม่ได้เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงอาการอาจจะไม่แสดงออก แต่สามารถสังเกตได้ในภายหลัง ดังนี้
หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวให้รีบนำมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยทันทีหากพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจริง จะต้องเข้ารับการรักษาตามอาการ และความรุนแรงด้วยการทานยา การสวนหัวใจ หรือการผ่าตัด
การตรวจเพื่อหาโรคนี้ทำได้หลายวิธีเพื่อดูความสมบูรณ์ และการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด รวมไปถึงความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ที่เป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ ได้แก่
จากที่กล่าวไปแล้วว่าสามารถรักษาได้หลายวิธี แต่ต้องขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของผู้ป่วยด้วย ได้แก่
เมื่อพบว่าลูกตัวน้อยเป็นโรคนี้ให้รีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และตกลงวิธีรักษา โดยในระหว่างการรักษา ผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการปฏิบัติ ดังนี้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลีกเลี่ยงได้ยาก และมีความรุนแรงหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ดังนั้นการคอยสังเกตอาการความผิดปกติของลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม เพื่อทำการรักษาได้ทันหากพบว่าลูกตัวน้อยมีความเสี่ยง