โรคซึมเศร้า (Depression) คือ โรคที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์และความรู้สึก มักพบได้มากในเพศหญิง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความรู้สึกเศร้า รู้สึกไม่มีความหวัง และไม่สามารถหาทางออกได้ ถึงแม้ว่าความรู้สึกจากที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นเป็นปกติกับทุกคน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกันผู้ป่วยอื่นเพราะมักมีอาการทางความรู้สึกที่หนักกว่า และสามารถส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันด้วยความยากลำบาก โรคร้ายนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียวเท่านั้น แต่ยังถูกแยกออกเป็นชนิดอื่นได้อีกด้วย ได้แก่
โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร
โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
โรคซึมเศร้าโรคจิต
เกิดจากสมองที่ทำงานผิดปกติโดยเส้นประสาทอาจไม่สมดุลกัน หรือมีปัญหาในการทำงานประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านความรู้สึก และอารมณ์
ลักษณะทางความคิด ความคิด และมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ถือเป็นส่วนสำคัญของโรคซึมเศร้า หากมีทัศนคติในแง่ลบ อ่อนไหวต่อสิ่งรอบตัวได้ง่ายอาจส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้
เหตุการณ์เลวร้ายที่ต้องเผชิญ ในบางครั้งการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า และสิ้นหวังก็สามารถทำให้เป็นโรคร้ายนี้ได้เช่นกัน
การใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น สเตียรอยด์ ยาเบนโซไดอะซีปีน เป็นต้น ดังนั้นควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับตัวยา และผลข้างเคียงที่อาจได้รับ
โรคบางโรคอาจมีผลข้างเคียงที่นำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า เช่น โรคหัวใจ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเศร้าจนทำให้ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า อาการดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
สามารถเกิดจากพันธุกรรมหากมีคนในครอบครัวเคยมีปัญหาหรือเป็นโรคทางด้านอารมณ์จะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
มองโลกในแง่ร้าย
มีอาการสิ้นหวัง ซึมเศร้า หดหู่
คิดฆ่าตัวตาย
รู้สึกไม่ค่อยมีแรง
มีความเชื่องช้าทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการสนทนา
ชอบแยกตัว ไม่ต้องการเข้าร่วมสังคม
ขาดความสามารถในการตัดสินใจ
แพทย์จะมีขั้นตอนในการตรวจสอบเริ่มจากตรวจสอบร่างกายเพื่อหาความผิดปกติ หรือโรคที่อาจนำพาไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ หากมีการตรวจพบโรคที่เกี่ยวข้องจะสามารถรักษาได้ทัน ส่งผลให้โอกาสการเกิดโรคทางอารมณ์ลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้การตรวจที่สำคัญด้วยเครื่องมือแพทย์ทั้ง CT Scan หรือตรวจ EKG หัวใจก็สามารถทำให้ได้รู้ผลที่ละเอียด และแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แพทย์อาจใช้แบบประเมินผ่านการสอบถามถึงความรู้สึกหรืออาการในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าที่จะมาพบแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรคต่อไป โดยหากพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริง แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของโรคในขั้นตอนที่เหมาะสมต่อไป โดยการรักษาต้องใช้เวลา และปรับเปลี่ยนไปตามอาการของโรคด้วย
ภาวะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุที่หลากหลายจึงไม่สามารถควบคุมได้ แต่การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การออกไปเที่ยวนอกบ้าน และการรักษาสภาวะอารมณ์ของตัวเองให้เป็นปกติและมีชีวิตชีวา ไม่เก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้กับตัวเองมากจนเกินไป การมองโลกในแง่ดีก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้
แพทย์จะถามคำถาม และประเมินอาการจากอารมณ์ความรู้สึก โดยจะใช้แบบสอบถามโรคซึมเศร้าที่อ้างอิงจากสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) จำนวน 9 ข้อดังนี้
หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายอย่างน้อย 5 ข้อ จาก 9 ข้อที่กล่าวไปนั้นเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์จึงจะระบุได้ว่ากำลังอยู่ในสภาวะโรคซึมเศร้า