ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคที่มีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ล่าช้า รวมทั้งด้านร่างกายที่มีลักษณะใบหน้าเฉพาะที่แตกต่างบุคคลปกติทั่วไป ทำให้สามารถมองผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจากลักษณะภายนอกออกได้ อีกทั้งผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมมักจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติทั่วไป
ดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติของโครโมโซมในสเปิร์มหรือในไข่ก่อนมีการปฏิสนธิ โดยโครโมโซมจะเป็นตัวควบคุมลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น เพศ สีของดวงตา จะได้รับจากพ่อ 23 โครโมโซม และแม่อีก 23 โดยโครโมโซม แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 โครโมโซม ดังนั้นโรค ดาวน์ซินโดรมจึงไม่ใช่โรคติดต่อทางพันธุกรรม
นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยคลอดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม มีความเสี่ยงที่จะคลอดบุตรออกมาผิดปกติเป็นโรคดาวน์ซินโดรม
ทุกวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก เพื่อให้มนุษย์ทุกคนตระหนักถึงโรคดาวน์ซินโดรม และให้มีความเข้าใจในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคนี้แบบมนุษย์พึงกระทำต่อกัน แม้ว่าการรักษา และการป้องกันโรค ดาวน์ซินโดรมจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข อีกทั้งยังมีพัฒนาการเหมือนคนปกติได้ถ้าหากได้รับการฝึกฝน และได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง