ภาวะกลืนลำบาก จากความบกพร่องของระบบประสาท
ภาวะกลืนลำบาก จากความบกพร่องของระบบประสาท

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือ อาการไอ สำลัก หรือมีความรู้สึกเจ็บ เมื่อต้องกลืนอาหาร หรือน้ำ ซึ่งอาหารและน้ำ สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลม ทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อ และการอักเสบขึ้น เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

 

 

ภาวะกลืนลำบากมีอาการเป็นอย่างไร

      

  • ไอ รู้สึกเหนื่อย หลังจากรับประทานอาหาร หรือน้ำ

      

  • เมื่อกลืนอาหาร หรือน้ำ มักจะมีอาการติดคอ

        

  • เมื่อกลืนอาหาร หรือน้ำ ลงไปแล้ว มีความรู้สึกว่าน้ำ หรืออาหารคั่งค้างอยู่ที่ปาก และคอหอย

 

 

สาเหตุของการกลืนลำบาก

 

ความเสื่อมของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น

 

  • ผู้สูงอายุบางรายจะมีอาการเบื่ออาหาร เนื่องจากความเสื่อมของต่อมรับรสชาติ และประสิทธิภาพในการเคี้ยว และการกลืนที่ลดลง ทำให้มีอาการเจ็บเมื่อกลืนอาหาร หรือน้ำ

 

ความบกพร่องของระบบประสาท

      

  • การกลืนเริ่มจากการที่สมองสั่งให้เส้นประสาท และกล้ามเนื้อออกแรงเคี้ยว เพื่อควบคุมจังหวะการกลืนอาหาร โดยที่ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีปัญหาควบคุมการกลืน จนเกิดการสำลักอาหาร หรือน้ำได้

 

 

การวินิจฉัยของอาการกลืนลำบาก

 

การซักประวัติ

      

  • โดยแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยว่าผู้ป่วย มีเริ่มอาการกลืนลำบากตั้งแต่ช่วงไหน มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือไม่ ของแข็ง หรือของเหลวที่ทำให้กลืนลำบาก เป็นต้น

 

ตรวจร่างกาย

      

  • เช่น ตรวจช่องปาก, ตรวจลำคอ, ตรวจความผิดปกติของระบบประสาท  และตรวจประเมินภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น

 

 

การรักษาอาการกลืนลำบาก

 

การรักษาขึ้นอยู่กับระดับของอาการกลืนลำบาก ผู้ป่วยบางรายอาจแค่ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยว และการกลืน อาหาร และน้ำ หรือแม้กระทั่งการเข้ารับการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยบางราย

 

 

กลืนลำบาก

 

 

วิธีป้องกันอาการกลืนลำบาก

      

  • นั่งหลังตรงเวลารับประทานอาหาร และไม่นอนทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ

           

  • เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่แข็งเกินไป จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหารได้

      

  • รับประทานอาหารขนาดพอดีคำ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน

 

 

ภาวะกลืนลำบาก นอกจากจะส่งผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจเช่นกัน เพราะผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก มักจะกังวลในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ทำให้ห่างจากการอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคม ผู้ป่วยจึงเกิดความหดหู่ ซึมเศร้า ส่งผลให้ร่างกายมีอาการทรุดหนักลงไปอีก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI