ปวดศีรษะ คือความผิดปกติของระบบประสาท ผู้คนส่วนใหญ่มักจะใช้ยาแก้ปวดมารับประทานเอง ในบางกรณีมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ทำให้เกิดการรับประทานยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ล่ะครั้ง จนมากกว่าความจำเป็น หรือใช้ยาเกินขนาด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไปได้เช่นกัน
ปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medical Overuse Headache) เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป ในระยะเวลานานๆ ซึ่งยาแก้ปวดนั้นสามารถบรรเทาอาการปวดได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อยาหมดฤทธิ์ จึงเกิดการปวดศีรษะ Rebound headache จึงเกิดการกระตุ้นให้เซลล์สมองมีการสร้างตัวรับการปวดมากขึ้น เนื้อเยื่อที่มีตัวรับนี้จึงมีอาการตอบสนองต่อการปวดศีรษะมากขึ้น แม้ไม่มีตัวกระตุ้นก็สามารถเกิดอาการปวดขึ้นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางตรงก้านสมอง เกิดการสร้างสารสื่อประสาทบางชนิดเป็นอย่างมาก จนสื่อประสาท รวมทั้งสุขภาพจิตเกิดเสียความสมดุลผิดปกติขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานมากกว่า 3 เดือน มีอาการหงุดหงิด กังวล และไม่มีสมาธิ ซึ่งก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะมากยิ่งขึ้น
แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ในอาการปวดศีรษะ การใช้ยาแก้ปวด รวมทั้งการตรวจร่างกาย และตรวจระบบประสาท โดยจะมีเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ได้แก่
การใช้ยาระงับอาการปวดศีรษะแบบรับประทาน
Migraine Cocktail
Occipital Nerve Block
ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป คือ การรักษาโรคไมเกรนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยาแก้ปวดประเภทต่างๆ มารับประทานเองโดยไม่ทำการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาแก้ปวด ดังนั้นหากมีอาการแก้ปวดควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะหากรับประทานยาแก้ปวดเองอย่างต่อเนื่อง จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย และจิตใจให้ผิดปกติได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI