“ตะคริว” เกิดขึ้นได้หลายช่วงเวลาแม้ในช่วงที่ไม่ควรเกิดขึ้น จนอาจนำอันตรายมาสู่เราได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ หรือตอนวิ่ง โดยอาการดังกล่าวเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้อาการตะคริวยังสามารถเกิดได้หลายจุดนอกจากบริเวณขา เช่น หลัง หรือหน้าท้อง และเนื่องจากการเกิดตะคริวแต่ละจุดจะทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนไหวในจุดนั้น ๆ เราจึงจำเป็นต้องรู้จักอาการนี้ทั้งสาเหตุ การรักษา และการป้องกัน
สำหรับการเกิดนั้นมีด้วยกันหลายประการจนยากที่จะระมัดระวังได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ สาเหตุที่ว่านั้น ได้แก่
นอกจากที่กล่าวไปแล้วภาวะการขาดแคลเซียมในร่างกายยังเป็นภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตะคริวได้เช่นกัน จึงทำให้สตรีที่กำลังตั้งครรภ์มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากในช่วงนั้นร่างกายจะมีปริมาณแคลเซียมในเลือดต่ำ และอาจเกิดจากภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น ตำแหน่งของมดลูก หรือการมีถุงซีสต์ เป็นต้น
อาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก หากสัมผัสจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณนั้น โดยปกติจะสามารถหายได้ภายในเวลา 2-15 นาที ในบางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังอยู่และจะกินเวลาเป็นวันก่อนจะหายอย่างสมบูรณ์
หลายคนอาจชินกับการเกิดภาวะนี้บริเวณขาจนเข้าใจว่าตะคริวไม่สามารถเกิดขึ้นที่อื่นได้ แต่ในความเป็นจริงตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด และแต่ละจุดยังสำคัญต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่
โดยปกติแล้วเมื่อเป็นตะคริวจะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่เราสามารถบรรเทาอาการ หรือช่วยให้หายได้เร็วมากขึ้นได้ ดังนี้
ระหว่างว่ายน้ำหากเป็นตะคริวจะเพิ่มความเสี่ยงการจมน้ำ หากอยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นก่อนลงน้ำควรออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อก่อนว่ายน้ำ เนื่องจากขาเป็นส่วนสำคัญในการว่ายน้ำ โดยท่าออกกำลังกายสามารถทำได้หลายท่าโดยเน้นไปที่แขน และขา เช่น ท่ายืดขา กระโดดตบ หรือวิ่งเหยาะ ๆ รอบสระน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากเป็นตะคริวสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดังนี้
ทุกครั้งที่เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ เราต้องตั้งสติ และพยายามพาตัวเองไปในที่น้ำตื้น และต้องทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากหากเราตื่นกลัวและไม่สามารถควบคุมตนเองได้จะทำให้เราจมน้ำนั่นเอง
การกินไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงในการเกิดตะคริว แต่ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากการทานอาหารในปริมาณมากจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดถูกแบ่งการทำงานไปที่การย่อยอาหารมากขึ้น เป็นผลให้กล้ามเนื้อที่ออกกำลังกายอาจมีเลือดไปหล่อเลี้ยงน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนแรง หรือขาดเลือด และเป็นตะคริวได้ ดังนั้นก่อนว่ายน้ำควรหลีกเลี่ยงการทานอาหาร ถือเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดตะคริวที่เราสามารถทำได้
ตะคริวเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเรารู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธีจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดียิ่งขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเป็นตะคริว