โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ปัญหาของคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้หญิง และผู้สูงอายุซึ่งเกิดจากแคลเซียมในร่างกายที่ไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง จนเกิดการแตกหักได้ง่าย อีกทั้งโรคนี้ยังเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน แต่สามารถพบเจอโรคนี้ได้ผ่านการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งจะทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ทันก่อนเกิดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
คือการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก ส่งผลให้เซลล์สร้างกระดูกทำลายกระดูก มากกว่าการสร้างกระดูกขึ้นมาทดแทน ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง และไม่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างที่เคย ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง แตกหักได้ง่าย และอาจส่งผลต่อส่วนสูงทำให้ส่วนสูงลดลง ปกติแล้วผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว แต่อาการจะแสดงออกหลังจากร่างกายได้รับความเสียหายจนกระดูกหัก ซึ่งการหักของกระดูกจะง่ายกว่าคนทั่วไป โรคนี้ยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และจะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นตามอายุ และรุนแรงถึงขั้นพิการได้
นอกจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไปข้างต้นแล้วโรคกระดูกพรุนยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วย เช่น การสูบบุหรี่ หรือน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคร้ายนี้อีกด้วย
โรคนี้ไม่มีอาการที่แสดงออกให้เห็นชัด จัดว่าเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง กว่าจะรู้ตัวกระดูกของเราคงเสียหายไปมากแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องสังเกตจากสัญญาณแทน เช่น อาการปวดหลัง ต่อมาจะหลังค่อม และทำให้ส่วนสูงลดลง อันตรายที่เกิดขึ้นนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อหลังเท่านั้น ยังส่งผลต่อสะโพก หรือข้อมือได้เช่นกัน ซึ่งอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
การรักษาโรคกระดูกพรุนจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของการสร้างเซลล์กระดูก โดยลดการทำงานของเซลล์คลายกระดูก ดังนี้
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ ด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้
แคลเซียมมีประโยชน์กับโรคกระดูกพรุน สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเพราะสามารถเพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูกได้ ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง โดยปริมาณแคลเซียมที่คนปกติทั่วไปต้องการต่อวัน คือ 800 – 1,000 มิลลิกรัม แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุจะต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แม้แคลเซียมจะจำเป็นต่อร่างกายแต่หากรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไต ท้องผูก หรือเกิดภาวะแคลเซียมเกาะตามผนังหลอดเลือด ดังนั้นก่อนรับประทานอาหารเสริมจึงต้องวางแผนเพื่อควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมต่อความจำเป็นของร่างกายด้วย
นม เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพราะมีปริมาณแคลเซียมสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันสูง โดยเฉพาะนมโคสด และนมรสจืด อีกทั้งยังมีผลต่อพัฒนาการด้านความสูง ซึ่งจะมีการซ่อมแซมมวลกระดูกในส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยการรับประทานนมให้ประสิทธิผลนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้
ผู้ที่มีปัญหาถ่ายบ่อยเมื่อดื่มนม ซึ่งเกิดจากน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ จึงควรเริ่มดื่มนมครั้งละประมาณครึ่งแก้ว และเพิ่มปริมาณเป็นครั้งละหนึ่งแก้วในอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมา หรือดื่มนมหลังอาหาร
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย และจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกแตกหัก การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักเพื่อลดปัญหาของการเคลื่อนไหวที่ยากต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต