อุ้งเชิงกรานหย่อน สังเกตได้จากก้อนนูนที่ออกมาจากช่องคลอด
อุ้งเชิงกรานหย่อน สังเกตได้จากก้อนนูนที่ออกมาจากช่องคลอด

อุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน (Pelvic Organ Prolapse)  คือ ภาวะที่ผนังช่องคลอดเคลื่อนย้ายต่ำลงมาในตำแหน่งที่ผิดปกติ ทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนคล้อยออกมา สังเกตได้จากการเห็นก้อนที่นูนโผล่ออกมาจากช่องคลอด อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานประกอบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ มดลูก และช่องคลอด

 

 

สาเหตุอุ้งเชิงกรานหย่อน

 

เมื่อเส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อภายในอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพลงจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

        

  • ความเสื่อมตามอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำแล้ว

        

  • ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ และคลอดบุตร

        

  • โรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคอ้วน, ไอเรื้องรัง, และท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น

        

  • พฤติกรรมต่างๆ เช่น ยกของหนัก, ไอแรงๆ, และการเบ่งอุจจาระ เป็นต้น

 

 

อาการของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

        

  • ปวดหน่วงๆ ภายในท้องน้อย

        

  • ปวดบั้นเอว

        

  • มีก้อนเนื้อออกมาจากช่องคลอด

        

  • รู้สึกเหมือนมีอะไรออกมาจากช่องคลอด

        

  • ปัสสาวะลำบาก เพราะก้อนเนื้อที่ออกมาจากช่องคลอด

        

  • มีอาการปัสสาวะ และอุจจาระผิดปกติ เช่น กลั้นอุจจาระไม่ได้, อุจจาระไม่สุด, ปัสสาวะเล็ด, ปัสสาวะบ่อย, และปัสสาวะไม่สุด เป็นต้น

        

  • ตกขาว

        

  • มีโลหิตไหลจากช่องคลอด

        

  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

 

 

การรักษาอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

 

การรักษาแบบประคับประคองอาการ

 

        

  • ใช้อุปกรณ์พยุงภายในช่องคลอด (Pessary) หรือห่วงในช่องคลอด ทำมาจากวัสดุซิลิโคน มีหลายขนาด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร และผู้ป่วยที่ยังไม่ประสงค์ทำการผ่าตัด

        

  • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการขมิบช่องคลอด  (Kegel exercise) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงมาก ช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดได้

 

การผ่าตัด

        

  • การผ่าตัดซ่อมเสริม (reconstructive surgery) คือ การผ่าตัดให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ

        

  • การผ่าตัดแบบแผลเปิดหน้าท้อง โดยการกรีดหน้าท้อง และทำการผ่าตัด เย็บแขวนช่องคลอด Sacrocolpopexy แพทย์จะพยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานที่มีการหย่อน โดยการใช้แผ่นตาข่ายเย็บติดกับกระดูกสันหลัง

        

  • การผ่าตัดผ่านกล้อง วิธีการคล้ายแบบผ่าตัดแผลเปิดหน้าท้อง เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ป่วยมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และใช้เวลาพักฟื้นไว

 

 

อุ้งเชิงกรานหย่อน

 

 

การป้องกันอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

        

  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป

           

  • ฝึกขมิบวันล่ะ 45-60 ครั้ง ครั้งละ 5-10 วินาที

        

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรม ที่เป็นสาเหตุของอุ้งเชิงกรานหย่อน เช่น ไม่ยกของหนักๆ และเลิกสูบบุหรี่

        

  • รับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก  ที่เป็นสาเหตุของอุ้งเชิงกรานหย่อน

 

 

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกราน แพทย์จะทำการผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากช่องคลอดจะมีความตื้น แต่จะทำให้ภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหายขาดได้ และไม่กลับมาเป็นอีก เหมาะสมกับสุภาพสตรีที่ไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์